คนตายช่วยอะไรคุณไม่ได้

มีหลายสิ่งที่คนตายไม่สามารถทำได้  สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่คนตายไม่สามารถทำได้คือ ช่วยจิตวิญญาณของคนให้รอด ในเอกสารของผมก่อนหน้านี้ในหัวข้อที่ว่า “แผนที่ของพุทธศาสนา”ผมศึกษาค้นคว้าบางส่วนของคำสอนในทางศาสนาพุทธ  ถ้าเราจะเปรียบเทียบชีวิตเหมือนการเดินทาง, แผนที่ทางศาสนาพุทธไม่ได้ระบุจุดหมายปลายทางอย่างชัดเจน, ผู้ทำแผนที่ไม่ได้อยู่ใกล้ตัวคุณที่จะช่วยนำใคร, และแผนที่ได้เต็มไปด้วยคำแนะนำอันตรายในทางจิตวิญญาณ, อำนาจของแผนที่ขึ้นอยู่กับความคิดของตนเองและประสบการณ์ของมนุษย์ที่มีจำกัด

จุดประสงค์ของผมในการเขียนเอกสารนี้ไม่ใช่เป็นการกล่าวร้าย, แต่ช่วยให้เข้าใจง่ายแก่ผู้คนที่จะตรวจสอบข้อจำกัดของศาสนาพุทธและเพื่อต้อนรับแก่ผู้คนที่จะคืนดีกับพระเจ้า, ผู้สร้างเรา  ในเอกสารนี้, มี ๕ หัวข้อที่อยากให้พวกเราได้ดู : ๑. ประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอนของศาสนาพุทธ ,  ๒.การเป็นที่พึ่งของตนเอง ,  ๓.การเติมสิ่งที่ไร้ประโยชน์ในจิตใจของมนุษย์ ,  ๔. ศีลธรรมที่ไร้ที่ยึดเหนี่ยว ; และ ๕. หลงทางไปจากพระเยซูคริสต์    ในเอกสารนี้ผมได้เปิดเผยสัตว์ที่พระพุทธเจ้าได้มีส่วนร่วมมากที่สุดในงานศิลปะ

 

๑.  ประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอนของศาสนาพุทธ

 

พระธรรม (Buddhist Scriptures)

พระธรรมในพระไตรปิฏกซึ่งได้ถูกเขียนลงในภายหลังอย่างช้ามาก, และพระธรรมของนิกายอื่นทางศาสนาพุทธได้ถูกจัดทำขึ้นและเขียนลงในภายหลังช้ากว่าอีก พระไตรปิฏกได้ถูกเขียนลงประมาณ ๗๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่ ศรีลังกา (Veidlinger, ๒๓) :

“นักวิชาการหลายคนในปัจจุบันเชื่อว่าถ้อยคำจากพระไตรปิฏกภาษาบาลีได้ถูกส่งผ่านจากปากต่อปากประมาณ ๔๐๐ ปี, จากช่วงเวลาจากจุดกำเนิดจนถึงช่วงศตวรรษแรกในยุคก่อนคริสต์ศักราช” (Veidlinger, ๒)

มันมีช่วงห่างของเวลามากจากช่วงเวลาที่จะเขียนจนถึงช่วงเวลาที่เอกสารต้นฉบับที่เขียนด้วยมือที่ยังหลงเหลืออยู่ Veidlinger เขียนว่า :

“เทคนิคการเขียนเอกสารภาษาบาลีตามประเพณีในโลกเถรวาทส่วนใหญ่ ปรากฏให้เห็นต้นฉบับที่เขียนด้วยมือในศตวรรษที่ ๑๙ ต้นฉบับที่เขียนด้วยมือภาษาบาลีที่เก่าแก่ที่สุดถูกพบย้อนหลังในช่วงศตวรรษที่ ๖ มันประกอบขึ้นด้วยการคัดเลือกจากบางส่วนต้นฉบับที่เขียนด้วยมือเท่าที่มีอยู่แรกเริ่มจากศรีลังกาเป็นของ Samuttanikaya จากปีคริสต์ศักราช ๑๔๑๑” (๑๔-๑๕)

สิ่งนี้ได้ยืนยันอ้างอิงจากสองเว็บไซต์ :

“เศษชิ้นส่วนวัตถุที่เรามีเป็นของเนปาลและอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๘ หรือ๙ ; ต้นฉบับที่เขียนด้วยมือที่สมบูรณ์แรกเริ่มสุดในเอกสารแต่ละชิ้นส่วนมาจากคริศต์ศตวรรษที่ ๑๕ ; และเราไม่มีสำเนาไตรปิฏกที่สมบูรณ์จากช่วงเวลาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘”

http://dharmastudy.net/the-pali-canon

“…ไม่มีต้นฉบับที่เขียนด้วยมือจากที่แห่งใดในอินเดีย นอกเหนือจากเนปาล ที่ยังหลงเหลืออยู่ ส่วนมากต้นฉบับที่เขียนด้วยมือที่สามารถใช้ได้มีอยู่ถึงนักวิชาการตั้งแต่ PTS [Pali Text Society]เริ่มต้น ซึ่งระบุเวลาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ C.E.”

http://www.palitext.com/subpages/lan_lite.htm

 

ในทำนองเดียวกัน Hinuber ได้ยืนยันสถานการณ์ด้วยการเขียนว่า “การทำต่อต้นฉบับที่เขียนด้วยมือด้วยเล่มที่สมบูรณ์ได้พึ่งเริ่มขึ้นในช่วงปลายคริศต์ศตวรรษที่ ๑๕   ด้วยเหตุนี้ แหล่งที่มาที่สามารถใช้ได้มีขึ้นมาทันทีในเชิงอักษรศาสตร์สำหรับเถรวาท ซึ่งแยกออกจากพระพุทธเจ้าเกือบมาประมาณ ๒,๐๐๐ ปี” (๔) คำที่ว่า “เล่มที่สมบูรณ์” ในที่นี้หมายถึง แต่ละส่วนของเล่มในพระไตรปิฏก  ถ้าเราระบุวันตายของพระพุทธเจ้าประมาณ ๔๑๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยเห็นพ้องร่วมกันโดยนักวิชาการสมัยใหม่, ฉะนั้นช่วงห่างระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระไตรปิฏกฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบเอกสารที่เขียนด้วยมือนั้นมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี

 

เราก็มีช่องว่างระหว่างเวลาประมาณ ๔๐๐ ปีจากช่วงเวลาของพระพุทธเจ้าก่อนจะเขียนลงสู่พระไตรปิฏก, เกือบ ๒,๐๐๐ ปีจากพระพุทธเจ้าจนถึงแต่ละเล่มของพระไตรปิฏกที่สมบูรณ์แรกสุด (ถึงแม้ว่าจะมีบางชิ้นส่วนก่อนหน้านั้น)  และมากกว่า ๒,๐๐๐ ปีจากเวลาของพระพุทธเจ้าจนถึงต้นฉบับพระไตรปิฏกที่เขียนด้วยมือฉบับสมบูรณ์

 

ในความแตกต่าง, เรามีแต่ละเล่มของพันธสัญญาใหม่ในรูปแบบของต้นฉบับที่เขียนด้วยมือจากประมาณ ๑๕๐ ปีหลังจากที่พระเยซูทรงฟื้นขึ้นจากความตาย (ถึงแม้ว่าจะมีบางชิ้นส่วนก่อนหน้านั้น) และพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับสมบูรณ์ที่เขียนด้วยมือประมาณ ๓๐๐ ปี หลังจากพระเยซูฟื้นคืนชีวิต  เรามีแต่ละเล่มของพันธสัญญาเก่าจากประมาณ ๒๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราชจากถ้ำในทะเลตาย (Dead Sea)

 

ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ พระไตรปิฏกได้ถูกเขียนลงบนหินในพม่า...

“กษัตริย์มินดง แนะนำเครื่องตีเหรียญเครื่องแรกในพม่า, และในปีคริสต์ศักราช ๑๘๗๑ ได้ครอบครองสภาศาสนาพุทธที่ห้าในมัณฑะเลย์ (Mandalay) เขาได้สร้างหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปีคริสต์ศักราช ๑๘๖๘, พระไตรปิฏก, ๗๒๙ หน้าของพระไตรปิฏกศาสนาพุทธ จารึกลงในหินอ่อนและหินแผ่นแบนในสถูปเล็กๆ”  http://en.wikipedia.org/wiki/Mindon_Min

อย่างไรก็ตาม “เขียนลงบนหิน” เป็นสำนวนสำหรับบางอย่างที่แท้จริงและแน่นอน,  Trevor Ling เขียนเกี่ยวกับโครงการของกษัตริย์มินดง ว่า, “ผิดพลาดในการแกะสลักตัวหนังสือซึ่งจำเป็นต้องทำการปรับปรุงแก้ไข...” (๑๒๔)  การปรับปรุงแก้ไขนี้กระทำอยู่ในช่วงเวลาสภาศาสนาพุทธที่หก (ปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๔-๑๙๕๖) ในพม่า

 

ในประวัติศาสตร์ศรีลังกา [ที่ซึ่งพระไตรปิฏกได้ถูกขียนลง (๗๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช), และที่คำอธิบายได้ถูกเรียบเรียง (ประมาณ๕๐๐ ปี หลังคริสต์ศักราช)], โดยถ้อยคำได้ผ่านการกวาดล้างใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒:

“ เมื่อ กษัตริย์ Parakramabahu ที่ ๑ (ปีคริสต์ศักราช ๑๑๕๓ – ๑๑๘๖) ปฏิรูปศาสนาพุทธในซีลอนช่วงคริศต์       ศตวรรษที่ ๑๒, พระจาก Abhayagiri- และ Jetavana-vihara ได้บวชอีกรอบตามประเพณีมหาวิหาร  เพราะฉะนั้น, ถ้อยคำเดิมของพวกเขา ก็ค่อยๆ เลือนหายไป, และมีแค่ ถ้อยคำแบบเถรวาทที่หลงเหลืออยู่เหล่านั้นในวัดอารามเพียงแห่งเดียว, มหาวิหาร”  (Hinuber, ๒๒)

ประวัติศาสตร์ของพระไตรปิฏกมันห่างไกลมากจากบางสิ่งที่เขียนลงบนหิน (แม้ว่ามันได้ถูกพยายาม)  แม้ว่าคำที่เรียกว่าคำของของพระพุทธเจ้าเอง (ในพระวินัยปิฏกของพระไตรปิฏก) ชี้ให้เห็นว่าคำสอนของเขานั้นไม่สามารถดำรงให้อยู่โดยไม่เสียหายได้

“พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัท-*ธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น”(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=6253&Z=6271

 

โดยเหตุที่ ผู้หญิง “ออกเรือนบวช” และห้าร้อยไปได้ผ่านมาแล้ว, โดยคำพูดของเขา, ธรรมได้หมดอายุไปแล้ว  ถ้าเราจะพูดว่านั่นเป็นคำพยากรณ์เท็จ, ดังนั้นความเชื่อถือได้ของพระไตรปิฏกนั้นผุกร่อนลงและพระพุทธเจ้าเป็นผู้พยากรณ์เท็จ  ถ้าเราจะพูดว่านั่นเป็นคำพยากรณ์ที่แท้จริง, แต่ยังไงมันก็ยังเท็จอยู่,  เพราะว่าห้าร้อยปีได้ล่วงมาแล้ว, และด้วยเหตุนี้ “พระธรรมที่แท้จริง” (ประกอบด้วยคำพยากรณ์นี้ถ้ามันเป็นจริง) คงผ่านพ้นไปแล้ว

 

Shravasti Dhammika, แม้ว่าเขามอบตัวแก่พระพุทธศาสนา, เขาได้เขียนบทวิจารณ์หักล้างพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  เขาได้ยอมรับถึงความแข็งแกร่งของคริสเตียนหลายครั้งในหนังสือของเขา

“ถึงแม้ว่า คริสเตียนเป็นคนกลุ่มน้อยในประชากรของประเทศไทย แต่พวกเขาได้ช่วยเหลืองานสังคมที่ไม่ใช่ของรัฐที่มีอัตราส่วนที่สำคัญ  อย่างเดียวกันนี้ในดินแดนเถรวาทอื่นๆ” “เงินทุนของงานสังคมเถรวาทเล็กๆนี้มีอยู่ ซึ่งส่วนมากมาจากชุมชนและงานสังคมแบบนี้ที่มักจะกระทำโดยอิทธิพลของชาวตะวันตกหรือหรือไม่ก็คริสเตียน... ในการเลียนแบบตามงานสังคมคริสเตียนหรือกระทำในสิ่งที่สวนทางที่สังคมคริสเตียนทำ” “อะไรในสิ่งที่ชาวคริสเตียนได้รับความรักเป็นศูนย์กลางของชีวิตและปฏิบัติต่อผู้ตาม? มีอะไรในเถรวาทที่ไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้น?”

http://www.buddhistische-gesellschaft-berlin.de/downloads/brokenbuddhanew.pdf

 

ทั้งๆที่เป็นความคิดของเขา, เขาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าพระไตรปิฏกภาษาบาลีนั้นมีข้อบกพร่อง  เขายังยืนยัน, “น่าเศร้าใจที่คำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏกภาษาบาลี เป็นไปได้มากกว่าที่จะสามารถกล่าวถึงปัญหาสมัยใหม่นี้และสิ่งที่จำเป็นมากกว่าคำสอนโบราณอื่นๆ”

http://www.buddhistische-gesellschaft-berlin.de/downloads/brokenbuddhanew.pdf

 

นี่เป็นเรื่องไม่ตรงกัน, โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่มีเพียงไม่กี่หน้าหลังจากที่เขาโต้แย้งตัวเองในการเสียอำนาจของพระไตรปิฏกภาษาบาลีและใช้ความคิดเห็นของเขาเองมากกว่าพระไตรปิฏกที่กล่าวถึงปัญหาสมัยใหม่:

“อย่างใดก็ตาม สิ่งที่พระพุทธเจ้าพูดหรือที่คนบอกว่าเขาพูด, ชาวพุทธยานเชื่อว่ามันผิดที่จะแยกผู้หญิงออกจากชีวิตสงฆ์, ที่ซึ่งมันไม่เหมาะสมในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ที่ต้องการพวกเขา เพื่อเป็นรองผู้ชายตลอดและมันเป็นการลดขั้นเพื่อที่จะปฏิบัติยังกับว่าพวกเขาเป็นโรคติดต่อประเภทหนึ่ง  พวกเขาควรเอากาลามสูตรที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้พูด มาชี้นำในสิ่งนี้และในอีกหลายๆประเด็น; ‘อย่าปลงเชื่อด้วยการถือสืบกันมา... อย่าปลงเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์... แต่เมื่อตัวพวกท่านเองได้เข้าใจในสิ่งที่ว่าถูกต้อง, ว่าดี, ว่ามีฝีมือและเมื่อตามหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติในความสุขและผลประโยชน์, เมื่อนั้นจงตามมัน’ (A.I, ๑๘๘).

http://www.buddhistische-gesellschaft-berlin.de/downloads/brokenbuddhanew.pdf

 

อย่างแรกเขายกยอคำสอนของพระพุทธเจ้า, และหลังจากนั้นเขาบ่อนทำลายอำนาจของตัวมันเองด้วยการพูดว่า “อะไรก็ตามที่พระพุทธเจ้าพูดหรือที่คนบอกว่าเขาพูด...”  และในการกล่าวถึงบทบาทของผู้หญิงไม่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า (ในคำสอนที่เขาอ้างถึง“อะไรก็ตาม”)  ในกรณีนี้ เขาทำตรงเผงสิ่งที่เขาวิจารณ์ พระพุทธโฆษาจารย์ที่มีชีวิตในช่วงคริสศตวรรษที่ ๕), และชาวพุทธนิกายเถรวาทสมัยนี้ทำ: “ชาวเถรวาทส่วนมากอยู่ข้างการชี้แจงของพระพุทธโฆษาจารย์ถึงแม้ว่ามันจะขัดแย้งกับคำของพระพุทธเจ้า” (อ่านเว็บไซด์ด้านบน) Dhammika ได้กระทำสิ่งเดียวกันในการแต่งคำเพื่อใช้ในคำชี้แจงแบบสมัยใหม่ ที่ซึ่งยัดแข้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า  หลังจากนั้นDhammamika ได้กลับมาถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าอ้างเหมือนว่า มันมีอำนาจซึ่งเขาได้ทำลายอำนาจของมันไปด้วย, “...อย่าปลงเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์...” ทำไมต้องไม่ตามถ้อยคำที่อ้างตำราหรือคัมภีร์?  เพราะว่าตำราหรือคัมภีร์เขียนไว้อย่างนั้น  นี่เป็นตรรกวิทยาที่ทำลายตัวเอง มันแสดงให้เห็นถึงเขาไม่มีอำนาจเลยสักนิดยกเว้นความคิดเห็นของเขาเอง  เขาสามารถหยิบและเลือกอะไรก็ตามที่เห็นว่าถูกต้องในสายตาของเขา

 

ปัญหาที่แท้จริงในที่นี้ไม่ใช่การหาคำชี้แจงที่เหมาะสมหรือแม้แต่ยึดมั่นถาวรในคำของพระไตรปิฏก  ปัญหาอยู่ที่แหล่งของตัวมันเอง ที่มีข้อบกพร่องและไม่สามารถให้คำตอบแก่ส่วนลึกในจิตวิญญาณที่ผู้คนจำเป็นต้องมี  มองถัดไปในประวัติศาสตร์ที่ไม่น่าไว้วางใจของพระไตรปิฏก, คำถามสำคัญที่น่าจะถามคือ, “พระพุทธเจ้ามีอำนาจที่จะสอนบนประเด็นจิตวิญญาณตั้งแต่แรกหรือไม่?” เป็นเพียงแค่มนุษย์ (ที่ซึ่งมีความรู้จำกัดมาก), และตอนนี้ก็เป็นเพียงแค่คนตาย, เขาแค่ระทมทุกข์ไม่มีสิทธิ์ให้คำแนะนำในหัวข้อที่สุดของที่สุดต่างๆ (เช่น ที่ไหนที่คุณจะใช้ชีวิตชั่ว

นิรันดร์? อะไรคือจุดประสงค์ในชีวิตของคุณ? คุณมาจากไหน?)

 

ในข้อเท็จจริงพระพุทธเจ้าบ่อยครั้งที่จะเอาความเอาสนใจของผู้คนออกไปจากหัวข้อสำคัญเหล่านั้นเพื่อที่จะมุ่งความสนใจของผู้คนไปยังชีวิตในทางโลกมากกว่าหัวข้อชั่วนิรันดร์  แน่นอนพระสมัยใหม่ผู้ที่จะหาทางสู่รูปแบบใหม่ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าที่จะอ้างว่ามีอำนาจมากกว่าที่พระพุทธเจ้าทำ มีเพียงแค่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้ทุกอย่าง, และผู้ซึ่งมีพลังเหนือความตาย, และผู้ซึ่งเป็นผู้ทรงสร้างและเป็นเจ้าของโลกใบนี้, มีสิทธิอำนาจที่จำเป็นในการสอนความจริงแก่จิตวิญญาณผู้คน  นี่เป็นสองเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงการพูดเกินความจริงบางอย่างที่ใช้ในพระไตรปิฏก

 

ในพระวินัยปิฏกของพระไตรปิฏก, เรื่องราวที่ไม่น่าเชื่อได้ถูกบอกเพื่ออธิบายว่าผู้ที่ได้รับสิทธิให้เป็นพระทั้งหลายต้องได้ถูกถามว่าพวกเขาเป็นมนุษย์หรือไม่ ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับนาคนี้ (งูใหญ่, อันเดียวกันกับที่ซึ่งอ้างว่าได้ปกป้องคุ้มครองพระพุทธเจ้าจากฝนด้วยสิ่งที่ปกคลุมคล้ายงูเห่าที่แผ่แม่เบี้ย), กลายร่างให้ดูคล้ายคนและกลายเป็นพระ

“ในวันหนึ่ง, พระรูปอื่นลุกขึ้นกลางดึก, ไปถึงยามเช้า, และออกไปด้านนอกเพื่อฝึกการเดินจงกรม  นาค, ได้รู้สึกว่าเพื่อนร่วมกุฎิได้ออกไป, จึงนอนหลับ, และในการนอนหลับนั้นเขาได้เปลี่ยนร่างเป็นร่างเดิม ร่างงูของเขาเต็มไปทั่วทั้งห้อง, และร่างที่ม้วนเป็นวงของเขาได้ออกมานอกหน้าต่าง  ในเวลานั้น, เพื่อนร่วมห้องของเขา, คิดว่าเขาน่าจะกลับเข้าไปในกุฎิ, เปิดประตูและได้เห็นห้องที่เต็มไปด้วยงู... หวาดกลัว

เมื่อเห็น, เขาร้องลั่น...” (Strong, ๑๙๙๕; หน้า ๖๒)

ปรากฏการณ์ไม่น่าเชื่อเรื่องอื่นในพระไตรปิฏก, ที่ซึ่งควรจะมีอยู่ตราบจนทุกวันนี้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ตราบเท่าที่โลกนี้ยังอยู่”)  เป็นดั่งบ้านที่ไม่มีหลังคา, ที่ซึ่งไม่เคยรับน้ำฝน:

“....มีเรื่องราวใน มัชฌิมนิกาย (Middle Length Saying) ที่มีพระบางรูปที่ได้ ‘ยืม’หลังคาของบ้านช่างทำหม้อเพื่อที่จะมาซ่อมหลังคาวัดอาราม แต่แทนที่ควรจะโกรธที่หลังคาของพวกเขาได้แยกออกไป,ช่างทำหม้อและพ่อแม่ตาบอดของเขาได้ซาบซึ้งด้วยความปิติยินดีซึ่งที่ไม่อาจพรรณนาได้เป็นเวลา ๗ วัน  เวลานั้นตามด้วยกฎเหตุและผลในปรากฏการณ์แปลกประหลาดนี้เป็นขึ้นมา  เปียกโชกไปทั้งหมู่บ้านหรือทั้งประเทศโดยฝนตกอย่างมโหฬาร, แต่ไม่มีสักหยดเดียวที่ตกลงบนบ้านที่ไร้หลังคานั้น  และนี่เป็นการดลบันดาลให้ตำแหน่งของบ้านของGati Kara ในสภาพนั้นอยู่อย่างนั้นตราบเท่าที่โลกยังดำรงอยู่”

(King, ๑๒๑)

ผู้แต่ง ได้ประยุกต์เรื่องราวสมัยใหม่จากการเขียนข้างบนนี้:

“สถานที่นี้น่าจะอยู่สักแห่งในบริเวณใกล้เคียงของเมืองชั่วนิรันดรของ Benares รัฐบาลอินเดียควรจะหา, โดยเฉพาะ Mr. Nehru ผู้ซึ่งเคารพศาสนาพุทธ  นี่เป็นภารกิจง่ายๆ  ในทุกๆรัศมีของหนึ่งพันไมล์รอบๆ Benaresที่ซึ่งหัวหน้าผู้ใหญ่ของทุกๆหมู่บ้านรอบๆสามารถถามอย่างละเอียดลออและพยามยามที่จะหาสถานที่ที่น่าพิศวงเยี่ยงนั้นเมื่อหากมันถูกพบจะกระทบต่อศาสนาพุทธเหนือมนุษยชาติอย่างใหญ่โตและรายได้จากนักท่องเที่ยวจะล้นหลามเข้ามาในอินเดียอย่างงดงาม” (King, ๑๒๑)

 

ตัวอย่างต่อไปในประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอนคือมิลินทปัญหา (การอภิปรายของกษัตริย์มลินท์), ที่ซึ่งชาวพม่าเห็นว่าควรอยู่ในพระไตรปิฏก Hinuber เขียนว่า, “ถึงแม้ว่า Menandros เป็นบุคคลตามประวัติศาสตร์, Mil [มลินทปัญหา] เป็นเอกสารที่ไม่ได้ตามประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง: กษัตริย์มิลินท์พูดกับหกคนที่สอนผิด, ผู้ซึ่งเป็นบุคคลร่วมยุคร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า (!)”(๘๓)  Mendaros ได้แยกประวัติศาสตร์จากพระพุทธเจ้าประมาณ ๒๕๐ ปี  สำหรับตัวอย่างมากกว่านี้ในเรื่องประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอน, กรุณาดูใน ภาคผนวก ๑, เกี่ยวกับอโศกมหาราช

 

ในอีกด้านหนึ่ง, ยกตัวอย่างเช่น ลูกา, ซึ่งปรากฏเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิลได้ถูกพิสูจน์ความจริง ที่แม้ว่ามีการตรวจสอบทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่หนาแน่นโดยผู้ที่คัดค้านต่อเรื่องราวนี้  ครึ่งหนึ่งของหนังสือแบบเฉพาะทางกึ่งหนึ่ง บนหนังสือของ Colin Hermer….“Acts in a Setting of Hellenic History” ที่ซึ่งเรียกว่าประวัติศาสตร์ของพระธรรมศาสนาพุทธนั้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน  พระไตรปิฏกนั้นประกอบบางส่วนที่เต็มไปด้วยตำนานดังนั้นพระธรรมเหล่านั้นไม่ได้ถูกเอามาทำอย่างถูกต้องเมื่อมันมาโดยรายงานทางกายภาพที่ว่า “ตามที่สิ่งเป็นจริง,(the way thing are,)” เมื่อนั้น ทำไมในโลกนี้ที่ใครก็ตามอยากที่จะเชื่อพระธรรม เมื่อมันมาถึงจิตวิญญาณชั่วนิรันดร์ของพวกเขา?  จิตวิญญาณชั่วนิรันดร์ได้ปฏิเสธในพระธรรมศาสนาพุทธ, แต่คงจะไม่แปลกที่มันจะมีสิ่งเกี่ยวกับจิตวิญญาณที่ไม่แน่นอนปรากฏในหนังสือที่มีประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอน  น่าเศร้าใจและในทางกลับกัน, แทนที่การขาดความน่าเชื่อถือในพระธรรมของพวกเขา, ทำให้ชาวพุทธแสวงหาพระเจ้า, พวกเขาหันไปในทางเอนเอียงพึ่งตัวเขาเอง- ตัวเองที่ตามคำสอนของพวกเขาเองนั้นไม่คงทนและเปลี่ยนแปลงตลอด

 

๒. การเป็นที่พึ่งของตนเอง

 

การขาดแคลนความตรงกันในประวัติศาสตร์และความจริงในพระไตรปิฏกนั้นได้ยอมรับโดยชาวพุทธบางคนและเหตุฉะนั้นพระธรรมพุทธศาสนาถูกลดความสำคัญลง  ด้วยการที่ขาดความสำคัญบนพระธรรม, ความสำคัญที่มากกว่าได้ถูกแทนที่ด้วยตัวของเราเอง  แทนที่สิ่งนี้จะแก้ปัญหา, เป็นการย้ายปัญหานั้นจาก พื้นฐานหนึ่งที่ไม่น่าเชื่อถือสู่พื้นฐานที่อ่อนแอพอๆกัน เท่านั้น, ในด้านความคิดของอนัตตา (ไม่มีตัวตน)  Walpola Rahula, ใน

“What the Buddha Taught” ได้เขียนว่า, “...พระพุทธเจ้าปฏิเสธโดยสิ้นเชิง, ในคำศัพท์ที่แน่นอนมั่นคง, ในมากกว่าหนึ่งสถานที่, ในการคงอยู่ของ อาตมัน, จิตวิญญาณ, ตนเอง, หรืออีโก้ภายในคนหรือภายนอก, หรือทุกหนทุกแห่งในจักรวาลนี้” (Rahula, ๕๖-๕๗)

 

พระรัตนตรัยตามประเพณีในศาสนาพุทธคือ พระพุทธ, พระธรรมและพระสงฆ์  ความคิดทั้งหมดในการเป็นที่พึ่งแสดงถึงการขอความช่วยเหลือจากภายนอกตัวของเราเอง มันแสดงถึงบุคคลที่มีสภาพจำกัดและมีขอบเขตและต้องการที่พึ่งที่ซึ่งไม่มีสิ้นสุดและเชื่อถือได้  ทั้งหมดในพระรัตนตรัยทั้งสามนั้นต่างก็มีข้อบกพร่อง, แต่ที่ทำให้แย่กว่านั้นคือ, ที่พึ่งที่สี่ได้ถูกนำเสนอ, ซึ่งก็คือ ตนเอง  คำสอนในพระธรรมบทของพระไตรปิฏก (ในชาดก แม่ของพระกุมารกัสสปเถระ), ได้นำ “ตนเอง” มาเป็นพื้นหน้า  “ภิกษุและภิกษุนี, ผู้ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อื่นไม่สามารถบรรลุความก้าวหน้าใดๆหรือการพัฒนาในชีวิต, เหตุฉะนั้นตนเป็นที่พึ่งแห่งตนหรือเจ้านายตัวเอง,ไม่มีใครสามารถเป็นที่พึ่งตัวเราเองได้”

http://www.buddhapadipa.org/plinks/MHAR-6ELBY2

 

ที่พึ่งทั้งสามนั้นได้ถูกวางไว้ ให้เห็นภาพด้วยรูปแบบชาดกนี้“ตนเอง”ได้ยกมาเป็นจุดเด่นในส่วนสำคัญที่สุดของที่พึ่ง แต่, ในท้ายที่สุด, ทั้งสี่ที่พึ่งนั้นเชื่อถือไม่ได้

 

๑. เป็นที่พึ่งในธรรม (คำสอน) โดยแท้ ส่วนใหญ่หมายถึงเป็นที่พึ่งในตนเอง, ด้วยเหตุที่คำสอนได้ชี้ไปในจุดนั้น  แต่, พวกเราได้เห็นถึงคำสอนนั้นที่ไม่น่าเชื่อถือตามประวัติศาสตร์, และคำสอนตรงกันข้ามที่พูดว่า, “อย่าปลงเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์” (A.I,๑๘๘)  ถ้าใครมองข้ามคำเตือนนี้, และไปตามการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ดังนั้นการไปโดยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ ผู้นั้นอนึ่ง ควรจะไม่ไปตามมัน! พุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมากในปัจจุบันไม่ได้มองเห็นถ้อยคำในศาสนาพุทธอยู่เหนือเกินความเข้าใจและเชื่อถือได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง, แต่เห็นว่า เป็นคำสอนที่สามารถดัดแปลงตามความคิดเห็นที่ทันสมัยตามแต่ผู้คน

(ความมั่นใจในตนเองมากกว่าพระธรรม)

๒. เป็นที่พึ่งในพระพุทธเจ้าเป็นการเข้าพึ่งในคนตายที่ไม่ได้อยู่ในปัจจุบันนี้ที่จะยื่นความช่วยเหลือใดๆ ให้ได้ แม้แต่ชีวประวัติของเขาไม่ได้ช่วยอะไรเลย, เพราะว่ามันเต็มไปด้วยตำนานและประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอน

๓. เป็นที่พึ่งในพระสงฆ์ (กลุ่มสังคมของสงฆ์), เป็นการขึ้นอยู่กับคนที่ไม่ถาวรและเปลี่ยนแปลงตลอด(อนิจจัง), ตัวตนที่ไม่ยืนยง(อนัตตา) ผู้ซึ่งมีความทุกข์(ทุกข์) ที่จะจัดการกับมัน  เหมือนกัน, ในนิทานชาดกด้านบน, มันได้พูดว่า, “ผู้ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อื่นไม่สามารถบรรลุความก้าวหน้าใดๆหรือการพัฒนาในชีวิต” ซึ่งรวมไปถึงการพึ่งพาพระสงฆ์

๔. เป็นที่พึ่งในตัวเองเป็นเพียงคนที่มีขอบเขตจำกัดที่เป็นที่พึ่งในคนที่มีขอบเขตจำกัด มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรของบุคคลนอกไปกว่าข้อจำกัดในตัวของพวกเขาเอง  ในหนึ่งลมหายใจตัวเราที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่ดี(อนัตตา) และในอีกลมหายใจหนึ่ง ที่บอกว่าให้อนัตตาเป็นที่พึ่ง

 

มีใครสักคนไหมที่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง? หรือ, อาจพูดได้ในอีกทางหนึ่งว่า, มีใครสักคนไหมที่ไว้วางใจในตนเองอย่างแท้จริง? มีใครที่สามารถพูดได้ว่าไม่เคยรับของอะไรจากผู้อื่นเลย, หรือไม่เคยได้รับอะไรเลยจากพระเจ้า? มีใครสักคนไหม ที่แท้จริงและไม่เปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตที่อยู่ได้ด้วยคติพจน์ที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ได้อย่างไร?

มายกตัวอย่างของช่างตัดเสื้อผู้ที่ด้วยเหตุผลบางประการเขาได้ยึดในคติพจน์นี้  เขาคงจะทำเสื้อผ้าของเขาเองตั้งแต่เริ่มต้น เขาคงไม่สามารถใส่เสื้อผ้าที่คนอื่นทำหรือซื้อมาให้เขาได้ แต่, เขาคงไม่สามารถใช้เส้นด้ายหรือเสื้อผ้าที่ซึ่งเขาไม่ได้เก็บเกี่ยวมาจากทุ่งฝ้ายหรือฟาร์มตัวหนอนไหม, และสิ่งอื่นๆ  และ, เขาคงไม่สามารถใช้กรรไกรหรือเครื่องเย็บผ้า, นอกจากตัวเขาเองได้สามารถทำสิ่งพวกนี้ขึ้นมาเอง  และ, เขาคงไม่สามารถสร้างอุปกรณ์ในการเย็บผ้านอกจากตัวเขาเองได้ทำเหมืองแร่เหล็กและหลอมแร่เหล็กเพื่อประการนี้  แต่, เขาจะสามารถทำเหมืองแร่เหล็กโดยปราศจากเครื่องมือที่ทำจากคนอื่นได้อย่างไร?  ดังนั้น, ช่างตัดเสื้อในสมมุติฐานของเราคงจะไม่กินอะไรเลย, นอกจากตัวเขาได้ได้ปลูกและทำอาหารเอง  และ, ด้วยอะไรที่เขาทำอาหารยกเว้นแต่อุปกรณ์ที่ตัวเขาเองได้ทำมันขึ้นมา  และ,สถานที่ที่เขาอยู่อาศัย, ยกเว้นแต่บ้านที่เขาได้ทำขึ้นมาเอง

 

ถ้าช่างตัดเสื้อผู้น่าสงสารนี้ได้เริ่มรู้สึกถึงความต้องการสุดๆของเวลาของเขาและการใช้ความอุตสาหะในการแยกตัวเองออกจากการพึ่งพาอาศัยของมนุษย์ทั้งปวง, บางที เขาอาจจะประสงค์ที่จะออกไปและอาศัยในป่า แต่, แม้ว่าที่นั่น เขาต้องนึกได้ว่าเขาไม่อิสระทั้งหมดหรือพอเพียงต่อการเป็นที่พึ่งของตัวเขาเอง  ในป่า(หรือแม้แต่ในเมืองด้วย) เขาจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับในหลายๆสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา- พืชสำหรับอาหาร, ต้นไม้สำหรับที่พักอยู่อาศัย, น้ำสำหรับยังชีพ, และสิ่งอื่นๆ  เขาคงไม่สามารถกินได้โดยไม่ใช้ปาก ที่พระเจ้ามอบให้แก่เขาหรือทำการสร้างสิ่งอื่นใดโดยไม่ใช้มือหรือเท้าที่พระเจ้ามอบให้แก่เขา  เช่นเดียวกัน เขาคงไม่สามารถคิดหรือทำการเลือกโดยปราศจากความคิดโดยไม่ใช้สมองและจิตวิญญาณซึ่งพระเจ้ามอบให้เขาไม่ว่าความอยากที่เขาจะเป็นที่พึ่งของตนเองสักเท่าไหร่, เขาจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับความจริงในขอบเขตจำกัดของเขาเองที่ไม่สามารถให้เขาเป็นที่พึ่งของตนเองได้ในที่สุดของที่สุดหรือแม้แต่เหตุผลในชีวิตประจำวัน

 

๓. การเติมสิ่งที่ไร้ประโยชน์ในจิตใจของมนุษย์

 

ถ้าจะหาชาวพุทธที่พอใจกับศาสนาพุทธอย่างเดียว, หายากมาก, แม้แต่ในประเทศพุทธ  ผู้คนที่เห็นว่าพวกเขาเองเป็นชาวพุทธบนจุดยืนที่ดี, ส่งเสริมทางพระพุทธศาสนาของพวกเขาด้วยหลายชนิดของสิ่งที่ไม่ใช่ตามวินัยศาสนา

 

ในประเทศไทย, ครุฑที่เป็นเทพนิยาย ได้ถูกใช้ในเงินตราและเอกสารทางราชการเป็นดั่งสัญลักษณ์ปกป้องประเทศ (ครุฑกำเนิดมากจากเทพนิยายฮินดู, แต่ก็ได้ถูกใช้ในเทพนิยายพุทธศาสนาด้วย)  นาคเป็นดั่งผู้คุ้มครองของพระพุทธเจ้า (เช่นอย่างในเวลาชาวพุทธเชื่อกันว่าเขานั่งอยู่บนนาคที่ขดเป็นวง, ที่ซึ่งได้แผ่แม่เบี้ยปกคลุมเขาจากฝนและรูปแกะสลักนาคยักษ์สามารถเห็นประดับตกแต่งอย่างเป็นลางสังหรณ์ในวัดทางศาสนาพุทธหลายๆแห่ง)  ในเทพนิยายนี้, นาคเป็นศัตรูกับครุฑ, ที่ซึ่งปรากฏในอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ, ประเทศไทย  ดังนั้น, น่าแปลกพอดู, ที่ผู้คุ้มครองประเทศไทยเป็นศัตรูกับผู้คุ้มครองทางศาสนาพุทธ

 

แต่การบอกผู้คนที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องสนใจเกี่ยวกับพระเจ้า, มันเป็นดังที่ว่าพระพุทธเจ้าพูดว่าการคิดไม่สำคัญ  มันเป็นบางสิ่งที่มีมาในตัวแก่มนุษย์ทุกๆคน, เพราะว่าพระเจ้าสร้างเราด้วยความกระหายที่อยากจะรู้และนมัสการพระเจ้า  แต่, เติมความกระหายนี้ด้วยสิ่งอื่น, การค้นหานำไปสู่ความไม่พอใจ  เป็นเหมือนกับที่ใครคนหนึ่งบอกนกว่าการบินนั้นไม่สำคัญและเด็ดปีกของนกเหล่านั้นเสีย, ในนกยุคๆต่อมา, ปีกคงเจริญเติบโตไปเป็นเหมือนปกติ, แต่ในสิ่งแวดล้อมที่พูดว่า “การบินนั้นไม่สำคัญ,”  นกอาจจะใช้ปีกของมันลากไปมาบนดิน, ไม่ใช่เพื่อบิน  พวกมันยังคง “กระหาย” ที่อยากจะบิน  ทั้งที่นกสร้างมาเพื่อบิน,  ผู้คนได้ถูกสร้างที่จะรักและนมัสการพระเจ้า  ศาสนาพุทธไม่ได้เติมเต็มในหัวใจของมนุษย์ให้รู้จัก‘ผู้สร้าง’ของเขา และดังนั้นการค้นหาจึงเกิดขึ้น  แต่น่าเสียดายยิ่งนักหากว่ามันกลายเป็นการหาความมั่งคั่งส่วนบุคคลแทนที่ของการหาความจริงและความถูกต้อง, ที่ซึ่งจะนำทางไปสู่พระเจ้า

 

Richard S. Ehrlich หัวข้อในปีคริสต์ศักราช๒๐๐๗ , เขียนว่า

“เครื่องรางจตุคามในช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาการขายอาจเอื้อมถึง ๕๐๐ ล้านดอลล่าร์สหรัฐ, ตามนักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ไว้...  มากกว่า ๑๐๐ รุ่นของเครื่องรางจตุคามที่ปรากฏในร้านทั่วประเทศไทย, และการแข่งขันระหว่างผู้ขายนั้นดุเดือด  บางรุ่นประกอบไปด้วยชื่อที่ยั่วยวนใจ, รุ่นแพงอย่างเช่น “เศรษฐีพันล้าน” และ “เงินไหลมาเทมา”

(http://www.globalpolitician.com/22711-thailand)

 

บางวัดได้ถูกครอบงำโดยความโลภที่พวกเขาทำการลงทุนใหญ่ในเครื่องรางเพื่อเช่า, แต่เมื่อความต้องการลดต่ำลง, พวกเขาจบลงด้วยหนี้ก้อนใหญ่  มันขัดแย้งกับเป้าหมายอย่างใหญ่  บางคนคิดว่ามีที่เก็บของที่เต็มไปด้วย “เศรษฐีเงินล้าน” และ “เงินไหลมาเทมา”  แผ่นกลมลึกลับนี้อาจจะเป็นหลักประกันความร่ำรวย  ไม่ใช่เช่นนั้น  แทนที่จะแสวงหาพระเจ้าแห่งความจริง, ผู้คนกลับมองหาแต่สิ่งที่เรียกว่าเทพหรือพลังที่ซึ่งสัญญาจะเติมเต็มความปรารถนาของพวกเขา  ทัศนคตินี้ในการหาเทพอะไรก็ได้ที่ “ใช้ได้” ในส่วนกลางของปัญหา  Art Katz ระบุปัญหาของจิตใจมนุษย์เมื่อเขาพูดว่าการบูชารูปเคารพนั้นเป็น “การรับใช้ตามประสงค์ของตนเอง”, มากกว่าการ “ให้เกียรติพระเจ้า”

 

คำเปรียบเทียบคลาสสิคของชาวพุทธเกี่ยวกับประเด็นในจุดกำเนิดของเราและประเด็นในส่วนสำคัญที่จะต้องเจาะลึกเน้นลงไป, เป็นดั่งคนที่ถูกยิงด้วยลูกธนู  โดนที่คนนั้นไม่ได้กังวลเกี่ยวกับลูกธนูนี้มาจากไหน, ใครเป็น

คนยิง, หรือธนูประเภทใดที่ใช้ยิงมา, อื่นๆ..., แต่แทนด้วยการสนใจที่จะเอาลูกธนูออก!  ดังนั้นดั่งที่พูดไว้ว่ามนุษย์ไม่ต้องกังวลในเรื่องจุดกำเนิดของโลกหรือปลายทางของพระพุทธเจ้าและ“คำถามที่ว่าด้วยความเป็นอยู่และจิตใจของมนุษย์” อื่นๆ  แต่ น่าเสียดายยิ่งนัก, โดยการขับไล่พระเจ้าไปข้างๆ, แหล่งที่แท้จริงของความโล่งอก(นิรันดร์)ได้พลาดไปด้วย  พระเจ้าถูกมองข้ามและถูกปฏิเสธ, เหมือนดั่งคนบาดเจ็บที่ไล่หมอไป

 

อัฐิในพระพุทธศาสนาได้กลายเป็นสิ่งมุ่งเน้นหลักของชาวพุทธหลายคน  ในวันนี้ของความสามารถในการตรวจสอบดีเอ็นเอ, มันน่าจะเป็นที่น่าสนใจที่จะได้เห็นอัฐิพวกนั้นมีดีเอ็นเอเหมือนกันหรือเปล่า  ทำไมไม่มีการทดสอบแบบนั้นได้ทำสำเร็จหรือถูกตีพิมพ์?  และ, ทำไมมันสำคัญที่ต้องมีอัฐิด้วย  พระพุทธเจ้าก็เป็นเพียงแค่มนุษย์และการยึดติดกับวัตถุทางโลกซึ่งตามพระธรรมนั้นเป็นอุปสรรค  เห็นได้ชัดที่มันเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ตามพระธรรมและแต่ถึงกระนั้นมันถูกปฏิบัติโดยชาวพุทธ  เหตุผลสำหรับสิ่งนี้ชัดเจนมาก  ช่องว่างในจิตใจของมนุษย์ไม่ได้ถูกเติมเต็ม, และการแสวงหาสำหรับจิตวิญญาณได้ดำเนินต่อไปผ่านการแสดงออกที่หลากหลาย  น่าเสียดายยิ่งนักที่คำตอบที่แท้จริงได้ตัดออกไปโดยไม่ได้ถูกพิจารณาเลย

 

ในสังคมชาวพุทธเป็นจำนวนมากได้อ้างว่ามีเศษชิ้นส่วนกระดูกของพระพุทธเจ้าและบางแห่งได้อ้างว่ามีแม้กระทั้งฟันของเขา  ในการขับไล่พระเจ้าไปด้านข้าง, การสร้าง (ในกรณีของฟันที่ถูกสร้างมา) ได้เน้นแทนมากกว่าพระเจ้าผู้ทรงสร้าง  แทนที่แสวงหาส่วนหนึ่งของฟัน ๔๐ ซี่ของพระพุทธเจ้า (ตามพระไตรปิฏก, พระพุทธเจ้ามีฟัน ๔๐ ซี่เมื่อเป็นทารก) หรือแม้แต่เคารพนับถือฟันแบบนี้,  สง่าราศีควรจะมอบให้แก่พระเจ้า  ติดตามแสวงหาอัฐิ,และขับไล่พระเจ้าออกจากการพิจารณาจะนำไปสู่แค่การขบฟันเท่านั้น: “เมื่อท่านทั้งหลายจะเห็นอับราฮัม อิสอัค ยาโคบ และบรรดาศาสดาพยากรณ์ในอาณาจักรของพระเจ้า แต่ตัวท่านเองถูกขับไล่ไสส่งออกไปภายนอก ที่นั่นจะมีการร้องไห้ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน” (ลูกา, ๑๓:๒๘)

 

๔. ศีลธรรมที่ไร้ที่ยึดเหนี่ยว

 

มีหลักปรัชญาหลากหลายที่ได้สนับสนุนตัวเอง บางอันโดยพื้นฐานที่ว่า:“มุ่งสนใจไปในตนเองและทำอะไรก็ได้อย่างที่คุณต้องการจะทำ,” หรือ “มุ่งสนใจไปในตนเองและเชื่อฟังเผด็จการ” ศานาพุทธก็แตกต่างกันตรงโดยพื้นฐานที่ตัวมันว่า “มุ่งสนใจไปที่ความพยามยามด้วยตนเองและทำดี” แต่, ในทางเดียวกันนั้นมันไม่มีอำนาจเหลือล้นที่จะจำกัดความคำว่า “ดี,”และไม่มีอำนาจเหลือล้นที่จะตัดสินว่าตัวเองนั้นควรจะเป็นจุดสนใจ  ในทางอื่น, ในบรรดาหลักปรัชญาทั้งปวงนี้, การอ้างนั้น สามารถสวนกลับด้วยคำถามที่ว่า “ใครพูดหลักปรัชญานั้นถูกต้องล่ะ” ในคำสุนทรพจน์ที่มิวนิก, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พูดถึงความสำคัญอย่างไม่อ้อมค้อมของความพยายามด้วยตนเอง:

“ในตัวเราเองอย่างเดียว อนาคตของประชาชนชาวเยอรมันได้วางอยู่  เมื่อพวกเราคนเยอรมันเองเท่านั้นที่ยกคนเยอรมันด้วยกันเองได้, ผ่านทางแรงงานของเราเอง, อุตสาหกรรมของพวกเราเอง, การกำหนดตัดสินใจของเราเอง, ความอาจหาญของเราเองและความพากเพียรพยายามของเราเอง, แค่เพียงเวลานั้น เราจะผงาดขึ้นอีกครั้ง”

http://www.earthstation1.com/hitler.html

เรารู้ว่าการที่มุ่งสนใจในตัวเองของเขาได้นำพาไปสู่ความตายของชาวยิวประมาณ ๖ ล้านคนและคนบาดเจ็บล้มตายอีกมากกว่า ๖ ล้านคนในสงครามที่เขาได้เริ่มต้นขึ้น

 

ศาสนาพุทธมีสิ่งคล้ายๆกัน, แม้ว่าแตกต่างกัน, มุ่งเน้นไปที่ตนเอง, พูดที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”  ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๐, ที่ซึ่งเขายังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งซีลอน, S.W.R.D. Bandaranaike, ได้ประกาศต่อหน้าองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ว่าคนเป็นอิสระที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองในเรื่องที่ว่าอะไรถูกและผิด, โดยไม่ได้อ้างถึงพระประสงค์ของพระเจ้า...

พระพุทธเจ้าเทศน์ในเรื่องความอิสระถึงที่สุดของคนเมื่อความคิดของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ใต้อำนาจของพระประสงค์ของพระเจ้า, และคนเป็นอิสระที่จะติดใจด้วยตัวเขาเองว่าอะไรถูกและอะไรผิด...

(Swearer, ๑๑๗)

ด้วยหลักปรัชญาแบบนี้, เขาคงไม่แปลกใจเลยที่หลังจากสามปีที่เขาได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี, คนหนึ่งได้ตัดสินใจด้วยตัวเองว่าอะไรถูกโดยการยิงและทำให้เขาบาดเจ็บสาหัสถึงตาย (เขาถูกเลือกตั้งในปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๖ และถูกลอบสังหารในปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๙) คนหนึ่งนั้นไม่ใช่ทมิฬฮินดู, ผู้ซึ่งรัฐบาลของเขาได้ทำให้ไม่มีความสำคัญ, แต่ชาวพุทธด้วยกัน, ผู้ที่ซึ่งเป็นพระ เขาได้แค่ตามคำแนะนำของ Bandaranaike เท่านั้นและตัดสินใจด้วยตัวเอง และ “อิสระถึงที่สุด” นั้นได้นำไปสู่ซีลอนไปถึงที่ไหน(เรียกว่า ศรีลังกา ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช ๑๙๗๒)? ในบทความ, “No middle way for Sri Lanka’s militant monks”, ถูกเขียนในปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๗, มันได้พูดตรงๆที่ว่า พระชาวพุทธยังคนเห็นด้วยที่จะใช้ความรุนแรง:

เมื่อสงครามส่งผลร้ายต่อศรีลังกาเป็นเวลา ๒๕ ปี เข้ามาสู่ยุคใหม่และร้ายแรง, Rathanaและ            พระผู้ติดตามที่ยึดมั่นในหลักการของเขาได้กระตุ้นให้ประธานาธิบดีMahinda Rajapksa ให้รักษาสัญญาที่เขาได้กลับเข้าสู่อำนาจในปลายปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๕: เพื่อที่จะทำลายพยัคฆ์ทมิฬด้วยกำลังทางทหาร

http://www.theage.com.au/articles/2007/06/15/1181414556706.html?page=fullpage

 

สาเหตุของสงครามกลางเมืองนี้เริ่มจากวันที่ รัฐบาลของ Bandaranaike เมื่อพวกเขาไม่ให้ความสำคัญกับทมิฬฮินดูและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ:

การสนับสนุนหลักการของ Bandaranaike ของศาสนาพุทธประจำเมือง, อย่างไรก็ตาม, กาช่วยเหลือแก่

ชาวพุทธสิงหลที่มีอุดมการณ์ที่ยกกลุ่มของตัวเองขึ้นสูง ทำให้ความขัดแย้งประชาคมรุนแรงขึ้น ระหว่าง ประชากรชนกลุ่มใหญ่สิงหลและ ชนกลุ่มน้อยทมิฬบนเกาะในปี ๑๙๘๓ ความขัดแย้งประทุไปสู่ความขัดแย้งการฆ่าพี่น้องที่ยังคงไม่มีการแก้ไขปัญหา

(Swearer, ๑๑๗-๑๑๘)

ตามประวัติศาสตร์, ความขัดแย้งถอยหลังไปไกลกว่าถึงวันของ Dutthagamini ผู้ซึ่งแสวงหาการโค่นล้มของผู้ไม่ใช่ชาวพุทธทมิฬจากซีลอนเมื่อ ๑๐๑ ปี ก่อนคริสต์ศักราช  “Dutthagamini ได้วางอัฐิของพระพุทธเจ้าในหอกของเขาและอ้างว่าการต่อสู้ของเขานั้นไม่ได้ทำเพื่อตัวของเขาเองแต่เพื่อการส่งเสริมศาสนา (ดูหนังสือของ Dhammika ในส่วนอ้างอิงเว็บไซต์)  แม้แต่พระทางพุทธศาสนาผู้ซึ่งมาด้วย Dutthagamini นั้น “...หนุนใจที่จะวางจีวรของพวกท่านและร่วมในการต่อสู้และบางคนผู้ที่ใกล้จะเป็นอรหันต์ได้ทำอย่างนั้น”  (ดูหนังสือของ Dhammika ในส่วนอ้างอิงเว็บไซต์)

 

ศาสนาพุทธโดยปกติไม่สนับสนุนความรุนแรงหรือการผิดศีลธรรม, แต่มันได้สร้างช่องว่างในผู้คน, ที่สิ่งยึดเหนี่ยวได้ถูกถอดออก, และ “ตัวเอง” ได้กลายเป็นศูนย์กลาง  ในความจริง, P.A. Payutto นักวิชาการชาวพุทธที่รู้จักกันดี ได้พูดว่า “ไม่ว่าที่ใดก็ตามที่ศาสนาพุทธได้แพร่กระจายไป, หรือได้บิดเบือนคำสอนไปอย่างไร, การเน้นความพยายามของมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ถ้าหลักการหนึ่งนี้ได้หายไป, เราสามารถมั่นใจที่จะพูดได้เลยมันว่าไม่ใช่ศาสนาพุทธแล้ว” (๓๘)

 

ใน “หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกันเป็นคำแถลงว่าด้วยหลักความเชื่อที่มีร่วมกันอันสำคัญยิ่ง ซึ่งมีขึ้นในปีคริสต์ศักราช๑๙๖๗ ระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งแรกของพุทธเถรสมาคมโลก (World Buddhist Sangha Council, อักษรย่อ WBSC)” ข้อที่ ๓ ทำให้เห็นชัดเจนเลยว่าคำสอนของศาสนาพุทธไม่ได้รวมไปที่พระเจ้าผู้ทรงสร้าง : “เราไม่เชื่อว่าโลกนี้สร้างขึ้นและปกครองโดยพระผู้เป็นเจ้า”ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๘๑ ได้ถูกปรับปรุงให้พูดใหม่ว่า “ไม่ว่าเถรวาทหรือมหายาน, เราไม่เชื่อว่าโลกนี้ถูกสร้างและปกครองโดยพระเจ้าตามพระประสงค์ของพระองค์”  ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๘๑, ถ้อยแถลงได้พูดด้วยว่า:

“ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับมุมมอง, พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้, ยั่งยืนถาวร และ ชั่วกัลปาวสานในจักรวาลนี้  เราเข้าใจ, ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า, อันว่า(สังขาร)ทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง(อนิจจัง) และไม่สมบูรณ์และไม่น่าพอใจ(ทุกขตา)

ธรรมทั้งหลายอันเป็นสังขาร (สังขตธรรม) และไม่เป็นสังขาร (อสังขตธรรม) ล้วนไม่ใช่ตัวตน (อนัตตตา)”

http://en.wikipedia.org/wiki/Basic_Points_Unifying_the_Therav%C4%81da_and_the_Mah%C4%81y%C4%81na| & | http://th.wikipedia.org/wiki/หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน

ในการที่พูดว่า, “...ไม่มีอะไรเที่ยงแท้, ยั่งยืนถาวร และ ชั่วกัลปาวสานในจักรวาลนี้,”มันถูกวางทิ้งบนรากฐานที่อ่อนแอมาก ที่ซึ่งสร้างระบบต่างๆของศีลธรรม จุดกำเนิดของจักรวาลเป็นหนึ่งในคำถามที่พระพุทธเจ้าทิ้งไว้โดย

ไม่ตอบ  แต่พระไตรปิฏกเยาะเย้ยความคิดที่มีพระเจ้าผู้ทรงสร้างที่เที่ยงแท้, ถาวร, ชั่วนิรันดร์, และที่รู้จักได้ด้วย

ตัวเราเอง  ด้วยเหตุนี้, เราได้มีฐานะสภาพที่น่าสนใจ  ในโลกเรานี้มีบุคคลที่มีรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ได้อยู่, แต่ในพระไตรปิฏกไม่ได้รับรองว่าจักรวาลนี้ได้เริ่มต้นด้วยผู้หนึ่งที่มีรูปร่างที่มีความสัมพันธ์ได้  สิ่งหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ได้จะสามารถมาจากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์ ได้หรือ?  มองดูก้อนหินเป็นตัวอย่าง  ก้อนหินเป็นสิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์ จะสามารถมีบุคคลที่มีบุคลิกภาพและความสัมพันธ์ได้ มาจากก้อนหินที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ได้อย่างไร?

 

มากไปกว่านี้, ศีลธรรมเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ต่างๆ (หินไม่มีศีลธรรม), และนอกจากนั้น กรรมได้ถูกเรียกว่าเป็นพลังอำนาจที่ไม่ได้เป็นบุคคลและไม่มีความรู้สึกนึกคิด John Jones ได้สรุปรวมสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ :

“ศีลธรรมของผลที่ตามมาของกรรมนั้นดูราวกับเป็นปัญหาลักษณะของสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนของกระบวนการกรรม เพราะว่า, ถ้านี่เป็นกระบวนการเกี่ยวกับศีลธรรม, ประเภทเดียวของศีลธรรมที่ซึ่งเรามีหลักฐานจากการทดลองหรือสังเกตเป็นศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ โดยเหตุฉะนั้น มีขัดแย้งกันระหว่างลักษณะที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ของกรรม และลักษณะศีลธรรมของกรรม”(Jones, ๓๗)

มันเป็นไปได้อย่างไรที่ศีลธรรมสำหรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์มาจากการเริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์?  นี่เป็นสภาพเดียวกันกับผู้ที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า  แน่นอนอยู่แล้วสำหรับผู้เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าหรือชาวพุทธทั้งหลายสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นคนดี  แต่, ง่ายเท่ากัน, ผู้เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าสามารถเลือกที่จะเป็นคนชั่วร้าย  ปราศจากพระเจ้า, สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ความคิดเห็น  คำถามที่ว่า “ผู้เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าได้มีอยู่สามารถเป็นผู้มีหลักศีลธรรมหรือ?” นั้นไม่ใช่คำถามที่ถูกต้อง, แต่ควรเป็น“ผู้เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าได้มีอยู่ ควรเป็นผู้มีหลักศีลธรรมหรือ?” ปราศจากพระเจ้า, ผู้เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าก็เป็นเพียงแค่การรวมกันของสารเคมีทั้งหลายและคำว่า“ควร”เป็นแค่เพียงความคิดเห็น

 

ในประเทศไทย, มีโสเภณีมากกว่า ๒ – ๓ เท่าเมื่อเทียบกับพระทางศาสนาพุทธ (มีโสเภณีประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ – ๑,๐๐๐,๐๐๐ และพระทางศาสนาพุทธประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ – ๔๐๐,๐๐๐), และแต่ว่า นี่เป็นชาติที่เชื่อโดยทั่วไปว่ามีชาวพุทธประมาณ ๙๕%-  โดยที่โสเภณีหลายคนยังคนถือเอาว่าตัวเองนั้นเป็นชาวพุทธอยู่พูดถึงพระสงฆ์ในประเทศไทย, Dhammika เขียนไว้ว่า, “การศึกษาในปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๒ แสดงให้เห็นถึงสาเหตุหลักของการตายของพระสงฆ์ในไทยนั้นอาการป่วยต่างๆเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่”นี่เป็นเรื่องขัดแย้งกันสำหรับศาสนาที่ซึ่งสอนในอริยสัจ ๔ ที่ซึ่งราคะต้องกำจัดออกไป  การสูบบุหรี่เป็นตัวอย่างสำคัญของบางสิ่งที่ได้กระทำบน “ราคะ” จุดนี้ที่นี่ไม่ใช่ที่พวกเขาเป็นชาวพุทธที่อาศัยอย่างไม่ลงรอยกับศาสนาพุทธ   มีคริสเตียนและคนในศาสนาอื่นๆ ที่ซึ่งอาศัยอย่างไม่ลงรอย, กับคำสอนของพวกเขา

 

จุดที่ผมอยากจะพูดถึงคือคำสอนในศาสนาพุทธในตัวของมันเองนั้น โดยไม่เจตนาได้นำไปสู่ผลลัพธ์แบบนี้  มุ่งเน้นไปที่ตัวเอง ในระบบกรรมที่อ้างว่าไม่ได้เป็นบุคคลและไม่มีความรู้สึกนึกคิด และด้วยทัศนะการมองของการเกิดใหม่ในอนาคตต่างๆ, มันไม่แปลกเลยที่จะมีหลายคนที่จะนำมาใช้เป็นกริยาท่าทางการผัดวันประกันพรุ่งและใช้หลักปรัชญาที่มีประโยชน์ประจำวันเพื่อจะสนองความจำเป็นหรือความต้องการในทันทีทันใด  และ, ในท่ามกลางของระบบที่ไม่ได้เป็นบุคคลและไม่มีความรู้สึกนึกคิด ผู้คนยังคงกระหายในการติดต่อกับสิ่งที่เป็นบุคคลและมีความรู้สึกนึกคิดด้วยโลกเกี่ยวกับวิญญาณ  น่าเสียดายยิ่งกัน, นี่นำไปสู่การบูชารูปเคารพหลายครั้ง  แต่การบูชารูปเคารพขัดแย้งกับเป้าหมายโดยผ่านการสนับสนุนในส่วนของสิ่งที่ไม่ใช่รูปแบบของบุคคลและไม่มีความรู้สึกนึกคิดด้วยการแลกเปลี่ยนกับสิ่งสำคัญ  การบูชารูปเคารพเปรียบเหมือนการเป็นหญิงโสเภณีในพระคัมภีร์ไบเบิล  การหากินเป็นหญิงโสเภณีเป็นเหมือนกับการเอาบางสิ่งที่ในแบบส่วนตัวมาก และเปลี่ยนไปสู่การซื้อขายทางธุรกิจของสองบุคคลที่ใช้ซึ่งกันและกันเหมือนเป็นสิ่งของ  การบูชารูปเคารพได้สนับสนุนการใช้เหมือนเป็นสิ่งของมากกว่าในเชิงความสัมพันธ์ส่วนบุคคลด้วย  ในท้ายที่สุดเป็นสถานการณ์ที่มีแต่เสียกับเสีย, เพราะว่าคนไม่ได้แสวงหาพระเจ้าในพระคัมภีร์ไบเบิลผู้มีความสัมพันธ์ได้ : “ประชาชนของเราไปขอความเห็นจากสิ่งที่ทำด้วยไม้ และไม้ติ้วก็แจ้งแก่เขาอย่างเปิดเผย เพราะจิตใจที่ชอบเล่นชู้นำให้เขาหลงไป และเขาทั้งหลายได้ละทิ้งพระเจ้าของเขาเสียเพื่อไปเล่นชู้ เขาถวายสัตวบูชาอยู่ที่ยอดภูเขาและทำสักการบูชาเผาอยู่ที่เนินเขา ใต้ต้นโอ๊ก ต้นไค้และต้นเอ็ลม์ เพราะว่าร่มไม้เหล่านี้เย็นดี เพราะฉะนั้นธิดาทั้งหลายของเจ้าจึงจะเล่นชู้และเจ้าสาวทั้งหลายจึงจะล่วงประเวณี” (โฮเชยา ๔:๑๒-๑๓)

 

นี่ไม่ได้หมายถึงศาสนาพุทธต้องเปลี่ยนรูปแบบ แม้ว่า Dhammika เขียนบทวิจารณ์อย่างแรงในเรื่องศาสนาพุทธนิกายเถรวาท,  เขาต้องการนำปฏิรูปมาถึงศาสนาพุทธ  เขาไม่ได้เห็นว่าความพยายามของเขาในการปฏิรูป มันได้ถูกจำกัดเหมือนดั่งข้อจำกัดของพระพุทธเจ้า  แม้ว่าเขาจะสามารถนำพาพุทธศาสนาสมัยใหม่เป็นดั่งมาตรฐานของพระพุทธเจ้าด้วยตัวเขาเองหรืออาจจะเหนือกว่านั้น, แต่ระบบทั้งปวงยังคงอยู่ในพื้นฐานของความคิดเห็นของมนุษย์, และจะขาดหลักอำนาจที่แท้จริง  เขาอาจจะสำเร็จในการนำเกี่ยวกับการปฏิรูปในรูปแบบที่เขาพอใจด้วย, แต่การไม่คำนึงถึงทางของพระเจ้า, ความพยายามของเขาในท้ายที่สุดจะแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของศาสนาพุทธในปัจจุบัน

 

เราไม่สามารถตัดสินด้วยตัวเราเองที่ว่าอะไรถูกหรือผิดดั่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีของซีลอนได้ประกาศ  บางครั้ง กฎหมายของแผ่นดินพวกเขานั้นผิดศีลธรรม,  อย่างเช่นกฎหมายบางข้อในเยอรมันช่วงระบบปกครองของฮิตเลอร์  ในกรณีนี้กฎหมายของประเทศแสดงเหมือนกับตำรวจที่ทรยศ, โดยสนับสนุนในเรื่องผิดศีลธรรมหรือห้ามสิ่งที่ถูกศีลธรรม  ศาสนาพุทธตัวมันเองก็คล้ายกับตำรวจที่ทรยศ, เพราะว่ามันเป็นการตั้งกฎขึ้นมาเองโดยไม่มีสิทธิอำนาจที่จะทำ

 

บทสรุปที่ซึ่งศีลธรรมของศาสนาพุทธได้เอื้อมไปนั้นไม่ได้บริสุทธิ์ทุกครั้ง  ตัวอย่างที่น่าสนใจในบางสิ่งที่ไม่ใช่หลักศีลธรรม ได้สนับสนุนโดยชาวศาสนาพุทธธิเบต, ในเว็บไซต์นี้มีแปดข้อคำถามคมกริบถึงทะไลลามะ: http://www.trimondi.de/EN/deba03.html

 

ระบบต่างๆที่ซึ่งมองข้ามพระเจ้า, ในท้ายที่สุดแล้ว ศีลธรรมจำต้องวางบนความเห็นของมนุษย์เพียงอย่างเดียว  นี่เป็นสภาพของศาสนาพุทธ  อาจารย์หลายคนอาจจะสนับสนุนอุดมคติใจบุญมีใจเมตตาอย่างสูงส่ง, แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ความคิดเห็นที่ไม่มีสิทธิอำนาจที่จะสนับสนุนมัน  เพราะว่าการขาดสิทธิอำนาจนี้ อาจารย์บางคนไม่ได้เน้นความสำคัญแก่ศีลธรรม, ถึงจะพูดถึงศีลธรรมอย่างน้อยก็ไม่ใช่ศีลธรรมที่มีสิทธิอำนาจแบบเด็ดขาด:

“ถึงแม้ว่าเขาเน้นความจำเป็นของการเป็นทางการในการปฏิบัติของเซ็น, [Shunryu] Suzuki-roshi ปฏิเสธที่จะสร้างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับศีลธรรมแก่นักศึกษาของเขา, ชี้แจงเหตุผลที่ว่าหลักศีลธรรมขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละวัฒนธรรม  กฎเกณฑ์แบบนี้, เขากล่าว, ควรจะถูกพัฒนาทีละเล็กทีละน้อยผ่านช่วงเวลาแห่งการทดลองและข้อผิดพลาด...หลักศีลธรรมสัมพัทธนิยมทั่วไปของเขาที่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน มีการขอร้องอย่างชัดเจนสำหรับคนที่อยู่ยุคนั้นที่ได้ผลักผ่านการปฏิวัติขนมธรรมเนียมเกี่ยวกับเพศในชาวอเมริกัน” (Robinson, ๓๐๔)

เหมือนกับอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายเซ็นได้กระทำไป, อาจารย์ชาวพุทธธิเบตก็ลดความสำคัญของศีลธรรมด้วย:

Trungpa ได้มองรูปแบบของศีลธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ระเบียบแบบแผนที่ยุ่งยากของตัวเอง’ ที่การทำสมาธิมีเจตนาไปสู่การล้มล้างระเบียบนั้น... การเขียนของ Trungpa... เป็นที่นิยมอย่างมากเลยทีเดียว, และการปฏิเสธรูปแบบศีลธรรมอย่างตรงไปตรงมาของเขาขึ้นชื่อโด่งดัง” (Robinson, ๓๐๔-๓๐๕)

ในกรณีทั้งสองด้านบนนี้, ผลลัพธ์นั้นทำนายได้:

“Suzuki-roshi ตายในปี ๑๙๗๑ และ Chogyam Trunga ในปี ๑๙๘๗ ทายาทของพวกเขาได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดธรรมะชาวอเมริกันไม่นานก่อนพวกเขาเสียชีวิต; ทายาททั้งคู่ของทั้งสองได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องอื้อฉาวทางเพศอย่างรวดเร็วและในที่สุดถูกถอดทอนออกจากการแต่งตั้งในองค์กรของเขา  ต่อมาเรื่องอื้อฉาวทำนองเดียวกันใน นิกายเซ็น, นิกายซอน, และศูนย์ธิเบต, รวมทั้งชาวเอเชียด้วย เช่นเดียวกับ อาจารย์ชาวอเมริกัน, ให้เห็นโดยชัดเจนว่า สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่เดียว แต่ปรากฏบ่อยครั้งจนเป็นรูปแบบหนึ่งของเรื่องปกติ...” (Robinson, ๓๐๖)

 

ที่เขาได้สอนว่าไม่มีตัวตน (ไม่มีคนยืนยงถาวรที่จะรับรางวัลหรือลงโทษในการกระทำของเขา), แต่เขาสอนว่ามีการเกิดใหม่,ศากยมุนีพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้า) มีความเชื่อใจว่าจักรวาลนั้นไม่ใช่ไร้ศีลธรรม  เกี่ยวกับความเชื่อใจของพระพุทธเจ้าที่ว่าจักรวาลนี้มีศีลธรรม, Jones ได้สรุปว่า: “เขาไม่สามารถที่จะอ้างว่าการเชื่อใจนี้มีพื้นฐานดีในส่วนการสอนของเขาที่ตามเหตุผลและการวิเคราะห์ ; จริงๆ, ผมนึกว่ามันไม่แรงเกินไปที่จะพูดว่ามีการขัดแย้งกันแบบ

ไม่มีความหวังที่จะเป็นไปได้ที่จะเชื่อมกันระหว่างทั้งสองนี้” (Jones, ๓๖)

 

นักปรัชญาคริสเตียน Francis Schaeffer เขียนว่า “ถ้าคุณเริ่มด้วยสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์, แม้ว่าคุณจะใช้คำพูดอย่างไรก็ได้เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์, แต่มันไม่มีความหมายสำหรับศีลธรรม” (๓๗)  เช่นเดียวกัน, พูดถึงเพลโตเป็นตัวอย่าง, Schaeffer เขียนไว้ว่า:

“เราควรจะเข้าใจในจุดนี้ว่าเพลโตนั้นถูกต้องอย่างที่สุด  เขาถือว่า คุณไม่มีศีลธรรม นอกจากคุณมีจุดที่แน่นอนนี่เป็นคำตอบที่สมบูรณ์ของสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของเพลโต,  เขาใช้เวลาของเขาในการหาสถานที่ที่เป็นรากฐานจุดที่แน่นอนของเขา, แต่เขาไม่สามารถที่จะทำได้เพราะเทพต่างๆของเขานั้นไม่เพียงพอ แต่นี้คือพระเจ้าผู้มีลักษณะแบบบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

พระเจ้าผู้ซึ่งมีลักษณะที่ซึ่งสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงได้แยกออกไปและที่ซึ่งลักษณะของพระองค์เป็นศีลธรรมที่แน่นอนของจักรวาล” (๔๒)

สถานการณ์ของเพลโตคล้ายคลึงกับของพระพุทธเจ้า  ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ปฏิเสธพระเจ้าที่แน่นอนและมีลักษณะบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ได้ และด้วยเหตุนี้ไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องความเชื่อใจของเขากับสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรม  กรรมที่ไม่ใช่ในรูปแบบบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ ไม่สามารถอธิบายถึงศีลธรรมที่ใช้สำหรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ได้  ชาวพุทธวางความเชื่อในข้อสรุปที่จำกัดของพระพุทธเจ้า ผู้ที่พูดว่ามีสิ่งเหมือนกรรมที่ซึ่งมีหน้าที่อย่างไม่เปลี่ยนแปลงและแน่นอน  เป็นไปได้อย่างไรที่พระพุทธเจ้า, ที่มีข้อจำกัดและใช้หลักไม่มีตัวตน, ไม่เที่ยงแท้, ความคิดที่ไม่แน่นอนเพื่อที่จะมาถึงบทสรุปเหล่านี้- แน่ใจได้อย่างไร บทสรุปของเขานั้นเป็นจริง?

ชาวพุทธต้องวางความเชื่อของพวกเขาในบทสรุปของคนเพียงหนึ่งคน, ที่ซึ่งบางครั้งส่งเสริมในสิ่งที่ไม่แน่นอนเหมือนกัน, ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของแต่ละบุคคล, และบทสรุปลึกลับจากการทำสมาธิ หากใครบางคนทำสมาธิและ “ค้นพบ”ว่าพวกเขาเป็นทายาทที่แท้จริง (ในที่นึกเอาว่าเป็นชีวิตก่อนหน้านั้น) ในส่วนของที่ดินที่ยังไม่มีใครอ้างเป็นเจ้าของ, จะมีศาลกฎหมายที่ไหนที่จะอนุญาตการเปิดเผยจากการทำสมาธิมาเป็นหลักฐาน?  การทำสมาธิเป็นระดับเดียวกันกับความฝันและแน่นอนไม่มีใครยอมรับเอามาเป็นหลักฐานถูกต้องตามกฎหมาย  ชาวพุทธต้องเดินไปด้วยความเชื่อ, ที่ไร้ซึ่งหลักฐานที่จะสนับสนุนสิ่งที่พวกเขาอ้างในสิ่งที่เป็นอยู่

 

โลกที่เราอยู่นั้นมหัศจรรย์ที่เต็มไปด้วยลักษณะที่ใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมในตัวของมันเองในทางที่ไม่สามารถมาได้โดยการสุ่ม, และสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ตั้งแต่แรกเริ่ม  ต้นไม้และพืชคายออกซิเจนและรับคาร์บอนไดออกไซด์  คนและสัตว์ทำตรงกันข้าม  กระเพราะของเราสามารถที่จะย่อยและใช้เป็นอาหารตามที่เราหาได้รอบๆตัวเรา  เรามีดวงตา, และสามารถใช้ตอบรับแสงตามส่วนจำเป็นที่ต้องใช้  สัญชาติญาณการอพยพย้ายถิ่นของนกตรงกับสภาพของภูมิประเทศของโลกเราที่ได้วางแบบไว้  เราก็มีประสาทสัมผัสของศีลธรรมที่ซึ่งติดมากับลักษณะของมนุษย์เรา, ที่ซึ่งวิวัฒนาการหรือจากการเริ่มจากสิ่งที่ไม่ใช่ลักษณะบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ ไม่สามารถอธิบายได้  ศีลธรรมของมนุษย์นั้นแตกต่างจากสิ่งที่เราเห็นในโลกของสัตว์  สัตว์ไม่จำเป็นต้องมีตำรวจ, ศาลพิพากษาหรือเรือนจำ  มันจะเป็นเรื่องน่าหัวเราะที่จะยัดเยียดศีลธรรมให้แก่สัตว์  มันก็คงน่าหัวเราะเหมือนกันที่จะปล่อยศีลธรรมไปสำหรับมนุษย์  พวกเราถูกสร้างมาให้เป็นคนที่มีศีลธรรม

 

ในการอ่านบนความอันหลายหลายจากวารสารทางพระพุทธศาสนา, เว็บไซด์และหนังสือ, มีทฤษฏีหลากหลายของศีลธรรมที่ซึ่งถูกเสนอสำหรับศาสนาพุทธ  ปัญหาทั้งหมดในความคิดพวกนี้คือที่พวกเขาไม่สามารถจะที่ยึดเหนี่ยวความคิดพวกนี้ในมาตรฐานเหนือความคิดเห็นของมนุษย์ (ในทางตรงกันและตามเหตุผลน่าเชื่อถือ) ชาวพุทธสามารถเสนอระบบอันหลากหลายเพื่อทำให้เป็นคนดี, แต่ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่คำจำกัดความของคำว่าดีในระบบนั้นเป็นเพียงแค่ความคิดเห็นของมนุษย์  ศีลธรรมในบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ไม่สามารถมาจากพลังงานที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์  ชาวพุทธ, ผู้ซึ่งคือบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ ได้แต่งศีลธรรมขึ้นมาเองศีลธรรมที่แต่งขึ้นมาเองนั้นไม่ได้ถือสิทธิอำนาจที่เหนือที่สุดเลยและมันไม่ได้คำอธิบายถึงผู้ทรงสร้างของเราผู้ที่ซึ่งมีสิทธิอำนาจในการสอนพวกเราว่าอะไรว่าเป็นสิ่งที่ดี

 

๕. หลงทางไปจากพระเยซูคริสต์

 

พระเยซูคริสต์ พูดว่า “เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ” (ยอห์น ๑๐:๑๑) มีทางผิดหลายทางที่แกะจะสามารถไปและหลงทางได้  เพื่อที่จะเข้าไปในฝูงแกะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเยซูคริสต์  ในทางใดอะไรบ้างที่ชาวพุทธหลงไปจากทางของพระเจ้า?

 

เริ่มต้นด้วย, ชาวพุทธไม่ได้รักพระเจ้า : “พระเยซูทรงตอบเขาว่า,‘จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของเจ้า ด้วยสุดจิตสุดใจของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า’นี่แหละเป็นพระบัญญัติข้อต้นและข้อใหญ่ ข้อที่สองก็เหมือนกันคือ‘จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง’พระราชบัญญัติและคำพยากรณ์ทั้งสิ้นก็ขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้” (มัทธิว ๒๒:๓๗-๔๐)

 

เช่นเดียวกัน, ชาวพุทธไม่ได้มีความเชื่อหรือไว้วางใจในพระเจ้า: “แต่ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว จะเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ก็ไม่ได้เลย เพราะว่าผู้ที่จะมาหาพระเจ้าได้นั้นต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์”  (ฮีบรู ๑๑:๖)  ความเชื่อนี้มีพื้นฐานมาจากหลักฐานที่พระเจ้าให้แก่เรา, ไม่ใช่ความเชื่อที่ตาบอด

 

ในการขจัดพระเจ้าออกไปจากการพิจารณา, ชาวพุทธไม่ได้ให้ความยำเกรงที่เหมาะสมต่อพระเจ้า: “ความยำเกรงพระเยโฮวาห์เป็นที่เริ่มต้นของปัญญา และซึ่งรู้จักองค์บริสุทธิ์เป็นความเข้าใจ” (สุภาษิต ๙:๑๐) แทนที่จะยำเกรงพระเจ้า, ชาวพุทธลงเอยด้วยการอยู่ในความกลัว ภูต ผี ปีศาจ และต้องผูกมัดในความเป็นทาสที่ต้องทำให้วิญญาณเหล่านั้นพอใจอยู่เสมอ

 

การที่เป็นที่พึ่งของตนเอง, ชาวพุทธไม่ได้ทิ้งห้องว่างไว้เพื่อไว้วางใจพระเจ้าอย่างถ่อมตัว: “...‘พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหอง แต่ทรงประทานพระคุณแก่คนที่ใจถ่อม’ ” (ยากอบ ๔:๖) “...เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าพวกท่านไม่กลับใจเป็นเหมือนเด็กเล็กๆ ท่านจะเข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ไม่ได้เลย” (มัทธิว ๑๘:๓)

 

แทนที่ของการสรรเสริญพระเจ้า, ชาวพุทธตามจิตนาการที่ไร้สาระโดยสรรเสริญแก่การทำสมาธิและนึกภาพของชีวิตก่อนหน้านี้ตามจินตนาการ: “เพราะถึงแม้ว่าเขาทั้งหลายได้รู้จักพระเจ้าแล้ว เขาก็มิได้ถวายพระเกียรติแด่พระองค์ให้สมกับที่ทรงเป็นพระเจ้า หรือหาได้ขอบพระคุณไม่ แต่เขากลับคิดในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และจิตใจโง่เขลาของเขาก็มืดมัวไป เขาอ้างตัวว่าเป็นคนมีปัญญา เขาจึงกลายเป็นคนโง่เขลาไป” (โรม ๑:๒๑-๒๒)

 

“และนี่แหละคือชีวิตนิรันดร์ คือที่เขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา”  (ยอห์น ๑๗:๓) รู้จักพระเจ้าเป็นเป้าหมาย นี่คือความสัมพันธ์

 

พระเจ้าไม่ได้เรียกผู้คนให้มีการผจญภัยทางจิตวิญญาณโดยใช้จิตใจของพวกเขา  การสั่งยาของหมอเถื่อนบางคนสามารถเห็นผลสำเร็จชัดเจนในชั่วขณะ  แม้ว่าหมอเถื่อนจ่ายยาบางสิ่งตามเหตุผลมันก็ไม่ได้หมายความว่าหมอพวกนั้นเป็นหมอจริงๆ  พระพุทธเจ้าได้กำหนดศีลธรรมบางอย่างตามเหตุผล, แต่เขาได้กำหนดบางสิ่งที่ดึงผู้คนให้ออกห่างจากพระเจ้าด้วย  การทำสมาธินำไปสู่ประสบการณ์ต่างๆหรือเปล่านั้น ไม่ใช่จุดสำคัญ  คุณสมบัติของพระพุทธเจ้านั้นขาดแคลนอย่างมาก  พระเจ้าไม่ได้เรียกเราให้แสวงหาประสบการณ์, แต่เรียกเราเพื่อแสวงหาที่จะมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าและเชื่อฟังพระเจ้า

 

อะไรที่ผิดไปมากที่ อดัมและอีฟได้รับและกินผลไม้ที่พระเจ้าไม่อนุญาต?  นอกจากบาปชัดเจนที่เขาไม่เชื่อฟัง, พวกเขาได้ตกไปสู่สิ่งหลอกลวงของ “การหาความรู้นอกจากพระเจ้า” ด้วย  นี่เป็นสิ่งหลอกลวงที่มีรูปโฉมในหลายรูปแบบ, อย่างเช่นโหราศาสตร์, เมื่อผู้คนเดินไปในส่วนของหน้าการดูดวงบนหนังสือพิมพ์, มันเป็นวิธีการทำนายที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า; หาความรู้นอกจากพระเจ้า  เพื่อกระทำสิ่งนี้ บุคคลต้องกดผลักความจริงที่พระเจ้าที่ได้เปิดเผยแล้ว   ปัญหาไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการที่ไม่รู้  มันไม่ได้เป็นกรณีที่ไม่ได้รู้จักความจริง, แต่เป็นกรณีที่ไม่ต้องการจะรู้ความจริง  กริยาท่าทางที่ไม่อยากรู้สิ่งที่พระเจ้าได้เปิดเผย มาจากการที่ไม่เต็มใจที่จะเชื่อฟัง  ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าอยู่บ้าง, แม้ว่าความรู้นั้นตระหนักถึงการมีอยู่ของพระองค์อย่างเดียว แต่เมื่อความรู้นั้นได้ถูกกดผลักไปผู้คนโน้มน้าวไปที่จะแสวงหาคำตอบอื่นๆ- “การหาความรู้นอกจากพระเจ้า”

 

นี่เป็นคำโกหกเดียวกันที่พระพุทธเจ้าตกลงไป  แทนที่จะแสวงหาความรู้จากพระเจ้าและยอมรับความเป็นจริงจากผู้ทรงสร้างเรา, เขาได้ผลักความจริงเหล่านั้น, และแสวงหาความรู้นอกเหนือไปจากพระเจ้า, ผ่านการทำสมาธิ  การทำสมาธิเป็นรูปแบบของการทำนายที่ไม่ได้มาจากพระเจ้าเหมือนกับโหราศาสตร์หรือไพ่ทาโรต์  ปัญหาที่ลึกกว่าในการโกหกนี้คือแสดงถึงการไม่ไว้วางใจ  แทนที่จะเชื่อในพระเจ้าและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า, ความสัมพันธ์นั้นถูกตัดไปและคำของงูร้ายได้ถูกพูดขึ้นอีก, “พระเจ้าได้พูดแบบนั้นหรือ...?”

 

พระพุทธเจ้าได้ให้คำโกหกแก่ผู้คนแทนที่ความจริงและผลลัพธ์กลับเป็นเรื่องน่าเศร้าในฝ่ายจิตวิญญาณ: “เพราะเจ้าได้กระทำให้คนชอบธรรมท้อใจด้วยการมุสา ทั้งที่เราไม่ได้กระทำให้เขาเศร้าใจเลย และเจ้าได้ทำให้มือของคนชั่วแข็งแรงขึ้น เพื่อมิให้เขาหันกลับจากทางชั่วของเขา โดยสัญญาว่าเขาจะได้ชีวิตรอด” (เอเสเคียล ๑๓:๒๒)

 

ท้ายที่สุด, แทนที่จะอยู่ในการดูแลของผู้เลี้ยงแกะที่เปี่ยมไปด้วยรัก, ชาวพุทธได้ถูกทิ้งไว้ในการมีอยู่ของปีศาจ,

งูใหญ่ (งูนาคที่ศาสนาพุทธยกย่อง, แต่ซึ่งที่จริงแล้วมันคือปีศาจ)

 

บทสรุป

 

พูดอย่างง่ายมาก, คนตายไม่สามารถช่วยใครได้ ที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามที่สำคัญที่สุดในชีวิต: ฉันมาจากไหน?  ทำไมฉันถึงมาอยู่ที่นี่?  ฉันจะไปที่ไหนเมื่อฉันตายไป?  พระคัมภีร์ไบเบิลสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ 

พระเยซูคริสต์ยังมีชีวิตอยู่  พระองค์ทรงเป็นขึ้นจากความตาย  คุณต้องการที่จะคืนดีกับผู้สร้างของคุณไหม?  ถ้าคุณต้องการ, คุณสามารถเริ่มโดยการสารภาพบาปของคุณแก่พระองค์, ซึ่งประกอบด้วยบาปที่ละเลยพระองค์และไม่ให้เกียรติแก่พระองค์ ที่พระองค์ควรจะได้รับ  "ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น" (๑ ยอห์น ๑:๙) พระเจ้าต้องการให้ทุกคนเชื่อในพระเยซูคริสต์และเช่นนี้ มีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับพระเจ้า

 

ผมได้รวบรวมบางส่วนของเรื่องราวที่มีในเอกสารนี้ด้วยคำย่อ: HOODED นี่มันเป็นฐานะที่ไม่มั่นคงของชาวพุทธที่เป็นอยู่  เหมือนดั่งพระพุทธเจ้าตัวเขาเอง  มันเหมือนว่างูเห่ายักษ์ที่แผ่แม่เบี้ยเป็นที่พักผ่อนอยู่เหนือหัวของเขา, เพราะว่าคำตอบไม่เพียงพอหรือละเลยคำถามสำคัญมากที่สุดของชีวิต, เหมือนดั่งคนเจ็บที่ไล่หมอไป  ในอีกด้านหนึ่งมีคำย่อที่ว่า CAMPER ซึ่งแสดงถึงหลักฐานที่คริสเตียนมี, ซึ่งทำให้ความเชื่อในพระคัมภีร์ไบเบิลนั้นน่าเชื่อถือมากและเป็นพื้นฐานสำหรับตอบคำถามที่สำคัญมากที่สุดของชีวิต   ผมได้เสนอเหตุผลมากมายที่นี่, แต่การเลือกนั้นอยู่ที่คุณ  คุณจะตอบสนองต่อความรักของพระเจ้าไหม? คุณจะมาถึงพระองค์อย่างถ่อมตัวไหม?  คุณจะมอบชีวิตให้แก่พระองค์, ด้วยความเชื่อ-เหมือนเด็กเล็ก ไหม?

 

ความไม่แน่นอนของชาวพุทธ (HOODED)

หลักฐานของคริสเตียน (CAMPER)

Highly impersonal beginning

การเริ่มแรกจากสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์อย่างมาก

Creation

การทรงสร้าง

Overblown stories

เรื่องราวที่เกินจริงมากเกินไป

Archeology

โบราณคดี

Over a 2000 year Scripture gap

ช่วงเวลาที่ห่างเกินกว่า ๒,๐๐๐ ปี สำหรับพระธรรม

Manuscripts

ต้นฉบับเอกสารที่เขียนด้วยมือ

Devoid of prophetic insight

คำพยากรณ์ที่ปราศจากการพิสูจน์

Prophecies

คำพยากรณ์ต่างๆ

Experience is the subjective test

การทดลองขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

Eyewitnesses

พยานผู้พบเห็นด้วยสายตา

Dead and absent leader

ผู้นำตายไปและไม่อยู่แล้ว

Resurrection

การฟื้นคืนชีวิตของพระเยซู

 

เพิ่มเติมนิดหน่อยสำหรับตัว “E” ในคำ HOODED (การทดลองขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล): การทำสมาธิเป็นข้อมูลภายในของแต่ละบุคคล (สิ่งที่ “เรียนรู้” ผ่านการนั่งสมาธิไม่สามารถรับเข้าเป็นหลักฐานสู่ศาลทางกฎหมาย), และการทำสมาธิเป็นการเปิดประตูอันตรายสู่โลกวิญญาณด้วย  ผู้ทำสมาธิต้องไปสู่สภาพการเปลี่ยนแปลงภาวะของจิตสำนึก  ในการอธิบายถึงทางตรัสรู้ในศาสนาพุทธ, ผ่านการทำสมาธิ, Robinson ในหนังสือของเขาที่เขาแนะนำประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธ, สรุปว่า, “ความหมายของการตรัสรู้เป็นดังเช่น สองส่วนสามการเชื่อในเรื่องหมอผีหรือคนทรงเจ้า[shamanism], การเปลี่ยนแปลงหลักศีลธรรม, และหนึ่งในสามจากการศึกษาปรากฎการณ์ของจิตสำนึกที่ซึ่งมาจากประสบการณ์โดยตรง [phenomenology]...” (๑๙)  Robinson ให้คำจำกัดความของการเชื่อในเรื่องหมอผีหรือคนทรงเจ้า(shamanism) ว่า: “ในถ้อยคำที่ง่ายที่สุด, การเชื่อในเรื่องหมอผีและคนทรงเจ้า[shamanism] เป็นความพยายามที่จะรับความรู้หรือพลังอำนาจจากสภาพการเปลี่ยนแปลงภาวะของจิตสำนึก” (๒๙๐)

 

ผมได้รู้จักคนหนึ่งในกรุงเทพฯผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่พักได้ถูกสอนการทำสมาธิไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ครั้งหนึ่ง, ระหว่างที่เธอกำลังทำสมาธิ, วิญญาณที่น่ารังเกียจได้ปรากฏต่อหน้าเธอ  เธอหวาดกลัวและวิ่งหนีออกจากห้อง  ครูที่สอนการนั่งสมาธิแก่เธอ บอกเธอว่าอย่าได้กังวลอะไรเลยเกี่ยวกับมัน, แต่ควรกลับไปและสอนแก่วิญญาณที่น่ารังเกียจนั้นด้วยทาง“สงบสุข”ของศาสนาพุทธ  ในทางนั้น, วิญญาณชั่วได้หลอกลวงเธอให้คิดว่าสิ่งที่เธอทำอยู่นั้นดี, ซึ่งแท้จริงเธอถวายตัวแก่วิญญาณชั่วที่หลอกลวงแสร้งทำเป็นเรียนรู้สันติสุขเท่านั้น, แต่เป็นการผูกมัดเธอไว้ด้วยการหลอกหลวงพระไตรปิฎกให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่น่าเชื่อถือที่สามารถเห็นได้ในเอกสารนี้และในเอกสารของผมก่อนหน้านี้  ด้วยเหตุนี้, การไว้วางใจคำสอนของพระไตรปิฎกในโลกฝ่ายวิญญาณเป็น เพียงแค่การนำทางที่ผิดเหมือนกัน  การทำสมาธิ นำบุคคลไปสู่ในส่วนของระดับที่ลึกที่สุดของพวกเขา ที่จะไม่ถูกนำโดยความแน่นอนและความจริงตามเหตุผล, แต่ได้ถูกนำโดยประสบการณ์ที่ขึ้นกับแต่ละบุคคลที่ออกจากพระเจ้าผู้ที่ซึ่งรักพวกเขา

 

Shravasti Dhammika ในการพูดเกี่ยวกับการทำสมาธิในศรีลังกา, เขียนว่า:

“...ผู้ทำสมาธิเดินรอบๆคล้ายกับผู้ที่อยู่ร่วมกันระยะยาวในโรงพยาบาลทางจิตโดยแท้จริง มีบางคนผู้ซึ่งใช้เวลาอยู่ในศูนย์ทำสมาธิเหล่านี้จบด้วยการมีปัญหาทางสมองอย่างมาก มีเรื่องตลกแพร่กระจายในสมาคมบางกลุ่มในศรีลังกาในช่วงปีคริสต์ศักราช ๑๙๙๐-๒๐๐๐ กลายเป็น ‘หนึ่งเดือนใน Kanduboda, หกเดือนใน Angoda,’Kandubodaเป็นที่รู้จักกันดีของศูนย์ทำสมาธิใน Colombo และ Angoda เป็นโรงพยาบาลใหญ่ของผู้ป่วยทางสมอง ของเมืองนี้”http://www.buddhistische-gesellschaft-berlin.de/downloads/brokenbuddhanew.pdf

HOODED: พระพุทธเจ้าถูกปกคลุมด้วยร่มเงาของงูยักษ์เจ็ดหัวในพระไตรปิฏก, มันไม่ได้บอกว่ามีเจ็ดหัว, เพียงแต่บอกแค่ว่ามันอยู่เป็นเวลาเจ็ดวันและเจ็ดขดวง (Muccalinda Sutta ใน Udana ของพระไตรปิฏก)

http://patokallio.name/photo/travel/Thailand/NongKhai/Buddha_Naga2.JPG

นี่เป็นเรื่องจากพระไตรปิฎกของพระพุทธเจ้าและนาค:

“สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้มุจลินท์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน สมัยนั้น อกาลเมฆใหญ่บังเกิดขึ้นแล้ว ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน มีลมหนาวประทุษร้าย ครั้งนั้นแล พระยามุจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน มาวงรอบพระกายของพระผู้มีพระภาคด้วยขนดหาง ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนพระเศียรด้วยตั้งใจว่า ความหนาวอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ความร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคครั้นพอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้น ครั้งนั้นพระยามุจลินทนาคราชทราบว่าอากาศโปร่ง ปราศจากเมฆแล้วจึงคลายขนดหางจากพระกายพระผู้มีพระภาค นิมิตเพศของตนยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคอยู่ ฯ”

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=1699&Z=1721

 

เพื่อสรุปสิ่งที่ผมได้เขียนในเอกสารก่อนหน้านี้และในเอกสารนี้, ชาวพุทธได้ถูกทิ้งด้วยแผนที่ที่มีข้อผิดพลาดในมือ, บอกให้ขึ้นอยู่กับตนเอง, ซึ่งมันไว้วางใจไม่ได้, และมีงูแผ่แม่เบี้ยส่ายไปส่ายมาเหนือหัว  ผมจะขอแนะนำคุณถึงพระเยซูคริสต์, แทนได้ไหม?

 

ในการเขียนเกี่ยวกับหลักฐานทางโบราณคดีที่สนับสนุนเรื่องราวของพระคัมภีร์ไบเบิล, Mark Cahill พูดว่า, “มีมากว่า ๒๕,๐๐๐ ชิ้นทางโบราณคดีที่หาพบที่สนับสนุนในเรื่องของ บุคคล, คำเรียกของพวกเขา, และสถานที่ที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์ไบเบิล  Nelson Glueck, นักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงชาวยิว,  เขียนว่า‘มันสามารถกล่าวได้อย่างเด็ดขาดว่าไม่มีการค้นพบทางโบราณคดีใดที่โต้แย้งการอ้างถึงในพระคัมภีร์ไบเบิลเลย’” (Cahill ๖๕)

 

“Lionel Luckhoo (๑๙๑๔-๑๙๗๗) เป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงและภายหลังเป็นผู้ประกาศคำสอนของพระเยซูคริสต์, ผู้ที่ซึ่ง หนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ (Guiness Book of World Records) ในรายชื่อผู้ชนะการตัดสินให้พ้นโทษในการสอบสวนคดีฆาตกรรม ติดๆกันมากที่สุด, ถึง ๒๔๕ ครั้ง... เขากล่าวว่า, 'ผมใช้เวลากว่า ๔๒ ปี ในการเป็นทนายต่อสู้คดีในหลายๆแห่งของโลกและผมยังคงปฏิบัติอยู่อย่างนั้นผมโชคดีที่ได้รับความสำเร็จเป็นจำนวนมากในคณะลูกขุนของการสอบสวนและผมพูดไม่อ้อมแอ้มในหลักฐานการฟื้นคืนชีวิตของพระเยซูคริสต์เจ้าที่ทรงอานุภาพที่มันพลังดันความยอมรับโดยการพิสูจน์ซึ่งทิ้งไว้ด้วยความแน่นอน ซึ่งไม่มีห้องให้สำหรับความไม่แน่ใจ'” http://www.conservapedia.com/Lionel_Luckhoo

 

พระเยซูคริสต์เจ้าเป็นพระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ในเนื้อหนัง  พระเยซูเป็นผู้ทรงสร้างจักรวาล  พระองค์อยู่ร่วมกับพวกเรามาเป็นเวลา ๓๓ ปี, ทรงทำอัศจรรย์, ทรงรักษาผู้คน, ขับผีปีศาจ, สอนด้วยสิทธิอำนาจ, ถูกตรึงกางเขน, ถูกวางในอุโมงค์, และทรงเป็นขึ้นจากความตายในวันที่สาม  สาวกของพระองค์ยืนยันเป็นพยานของการฟื้นคืนชีวิตของพระองค์ด้วยหยาดโลหิตของเขาที่มาจากการข่มเหง คำพยากรณ์หลายร้อยคำมาก่อนพันธกิจของพระเยซูคริสต์และถูกทำให้สำเร็จด้วยพระองค์  คำพยากรณ์ส่วนมากนี้ ได้ถูกให้ไว้ก่อนพระพุทธเจ้าจะเกิด  พระเยซูคริสต์ไม่ได้เป็นคนตายเหมือนผู้นำศาสนาคืนอื่น, แต่ว่าพระองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่  พระองค์เป็นผู้เดียวที่มีสิทธิอำนาจในการชำระล้างเราจากความบาปและรับเราสู่สวรรค์  แต่, ผู้ใดที่ปฏิเสธพระองค์เป็นการปฏิเสธความจริง ที่ผู้นั้นชื่นชอบคำเท็จมากกว่า คุณรักความจริงไหม? คุณตั้งใจที่จะตามพระเยซูคริสต์ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม?  อย่างไรก็ตามความรอดเป็นสิ่งที่ให้ฟรี, แต่มีการเสียสละบ้างเพื่อยอมให้พระเจ้าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา, แต่มีการล้มละลายหากยึด “ตัวเอง” เป็นเจ้านาย  พระเยซูเป็นทางนั้น, เป็นความจริงและเป็นชีวิต

 

CAMPER: “โดยความเชื่อ ท่านได้พำนักในแผ่นดินแห่งพระสัญญานั้น เหมือนอยู่ในดินแดนแปลกถิ่น คืออาศัยอยู่ในเต็นท์กับอิสอัคและยาโคบซึ่งเป็นทายาทด้วยกันกับท่านในพระสัญญาอันเดียวกันนั้น” (ฮีบรู ๑๑:๑๙)

 

http://vormedia.com/

 

 

 

ภาคผนวก ๑: กษัตริย์อโศก

 

กษัตริย์อโศกได้ถูกอ้างอิงหลายครั้งในการบันทึกเกี่ยวกับศาสนาพุทธในฐานะที่เป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธและบางครั้งได้ถูกยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ที่มีความเมตตากรุณาอย่างยิ่งใหญ่  ถึงแม้ว่า, ด้วยการขาดอำนาจในพระไตรปิฏก, และการขาดอำนาจในการเป็นที่ยึดเหนี่ยวในระบบศีลธรรมของชาวพุทธในส่วนของจักรวาลที่ไม่มีบุคลิคภาพและไม่มีความสัมพันธ์, กษัตริย์องค์นี้ ได้พยายามถูกชี้ให้เห็นถึงการสนับสนุนหรือให้ความนับถือในทางชาวพุทธด้วยสิทธิอำนาจกษัตริย์ของเขา  แต่, ในการกระหายต่อบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ได้และที่ซึ่งสูงที่สุด, แทนที่จะสรรเสริญพระเจ้า, เป็นเพียงมนุษย์ได้ถูกยกย่องสรรเสริญแทน, ผู้ที่ซึ่งไม่สามารถสนองความพอใจในส่วนจำเป็นที่ลึกที่สุดในจิตใจของมนุษย์  มากไปกว่านี้, การบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอโศกได้แสดงมากไปกว่านี้ในการขาดความน่าเชื่อถือในการบันทึกทางศาสนาพุทธ

 

มีแหล่งที่มาสองแหล่งหลักนอกจากจารึกอโศก (Edicts) อโศกกาวทานภาษาสันสกฤต ที่ซึ่งของหินยาน (ที่ซึ่งไม่ใช่เถรวาท) ที่น่าจะเป็นไปได้ว่าเรียบเรียงในคริสต์ศักราชที่สองในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ (Strong, ๑๙๘๙. Pp. xi-xii) มหาวันสาภาษาบาลีในอีกด้านหนึ่งที่ว่าถูกเรียบเรียงในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในคริสต์ศักราชที่ห้าในศรีลังกา เอกสารสองเล่มนี้ขึ้นกับเอกสารเก่าก่อนหน้านี้มากแค่ไหน ไม่อาจรู้ได้  อโศกกาวทานและมหาวันสาบรรยายเรื่องราวของกษัตริย์อโศก, แต่ด้วยความไม่เหมือนกันอย่างมาก

 

นี่คือบางส่วนของสิ่งที่แตกต่าง:

“ในอโศกกาวทาน, กษัตริย์อโศกได้ถูกพูดว่า ได้ประสูติหนึ่งร้อยปีหลังจากปรินิพพานของพระพุทธเจ้า; ในมหาวันสา, อย่างไรก็ตาม, เขาได้ถูกพูดว่าได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ ๒๑๘ ปีหลังจากการปรินิพาน” (Strong, ๑๙๘๙. หน้า ๒๑)

ตามที่อโศกกาวทานได้บันทึกไว้, แม้แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงของกษัตริย์อโศกที่เขานับถือศาสนาพุทธ เขายังคงมีไว้อยู่ซึ่งการฆ่าตามใจชอบ...

“...กษัตริย์อโศกได้แสดงให้เห็นอย่างไม่ปราณีต่อ Candargirika, ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าเพชรฆาตของเขา, และได้ถูกทรมานจนตาย หรืออีกครั้ง, หลังจากนั้น, เขาได้เข้าสู่ความโกรธและอาชีวิกะผู้ที่ไม่ได้นับถือพุทธหนึ่งหมื่นแปดพันคนถูกฆ่า... และต่อมาได้ทำการสังหารหมู่อย่างแท้จริงต่อผู้นับถือเชน, ตั้งค่าหัวแก่ผู้นับถือนอกศานาพุทธทั้งหมด  หลังจากนั้น, เขาประกาศด้วยความกระหายในการทรมานทั้งปวงที่เขาจะกระทำการรุนแรงต่อภรรยาของเขาTisyaraksita, และนำไปสู่การประหารชีวิตเธอ...”

(Strong, ๑๙๘๙. หน้า ๔๑)

ในอีกด้านหนึ่ง, “ที่คนหนึ่งอาจคาดว่า, ในบันทึกเหตุการณ์ชาวสิงหล [มหาวันสา], ด้านบุคลิกที่ไม่ดีของกษัตริย์อโศกส่วนมากได้ถูกทิ้งไป” (Strong, ๑๙๘๙ หน้า ๖๗) มันไม่ใช่เพราะว่ามหาวันสาไม่เห็นด้วยอย่างสมบูรณ์ต่อการนองเลือดนี้

 

เมื่อมหาวันสาได้บรรยายถึงเจ้าชาย Dutthagamini ชาวพุทธได้โค่นล้มรัฐบาลทมิฬที่ไม่ใช่ชาวพุทธ, เมื่อ ๑๐๑ ปีก่อนคริสต์ศักราช, มหาวันสาได้บันทึกถึง Duttagamini ได้ฆ่าชาวทมิฬหนึ่งล้านคน, ซึ่งพระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในกองทัพเข้าสู่การสู้รบตามที่ Dhammika เขียนไว้, “พระอรหันต์แปดรูปให้กำลังใจเขาที่เขากระทำกรรมร้ายที่เล็กน้อยมากเพราะว่าเขาแค่ฆ่า passim,(นั่นคือ สัตว์); ผู้ที่ไม่เชื่อก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าสัตว์  อีกครั้ง, โดยทุกๆมาตรฐานการต่อสู้ของ Duttagamani เทียบได้กับสงครามศาสนา” (อ่านเว็บไซต์ของ Dhammika ในส่วนอ้างอิง) จากผู้ที่เขียนมหาวันสา เราก็ได้มีเรื่องที่ไม่น่าเชื่อของราชินีที่มี “เด็ก” ด้วยการอยู่ร่วมกันกับสิงโต (http://hettiarachchi.tripod.com/dipa.html) นี่คือประวัติศาสตร์หรือ? ในศาสนาพุทธ ผู้คนถูกทำให้เงียบอยู่บ่อยครั้งโดยเรื่องจินตนาการเพ้อฝันมากกว่าได้อำนาจโดยความจริง

 

กลับมาที่กษัตริย์อโศก, บางส่วนของข้อความจารึก (ถ้ามันเป็นของเขา) ได้มีในข้อโต้แย้งในการฆ่าพวกที่ไม่นับถือตามเขาด้วย: “เขา [อโศก] ได้มอบถ้ำจำลองในเขาบาราบาร์, ใกล้แคว้นคยาในปัจจุบัน, แก่ชาวอาชีวิกะ, ที่เป็นฝ่ายต่อต้านชาวพุทธ” (Basham, ๔๖๘) การอ้างถึงสภาที่สาม (จัดตั้งโดยอโศก -ตามที่มหาวันสาภาษาบาลีเขียนไว้, แต่ที่ซึ่งไม่ใช่สภาที่ถูกพิสูจน์ยืนยืนว่ามีอยู่จริง, เพราะว่าอโศกกาวทานภาษาสันสกฤตไม่ได้เอ่ยถึงเลย)- อโศก ที่คนทั่วไปเชื่อว่า เขามีพระนอกศาสนาพุทธที่ไม่ใช่เถรวาท ทั้งหมด (ไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐) ขับออกจากพระสงฆ์

 

เกี่ยวเนื่องกับจารึกอโศก, อันแรกที่ได้ถูกแปลในยุคสมัยใหม่นั้นในปีคริสต์ศักราช ๑๘๓๗ ในจารึกพวกนี้, กษัตริย์อโศกได้อ้างตัวเองสม่ำเสมอในชื่อ “กษัตริย์ปิยะทัสสี ผู้เป็นที่รักของเทพเทวา” มีจารึกหกอันซึ่งกล่าวถึงบางสิ่งเกี่ยวกับศาสนาพุทธในทางแง่บวก, และในข้อความจารึกทั้งสามซึ่งกล่าวถึงศาสนาอาชีวิกะในทางแง่บวก  จากหกข้อความจารึกที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ มีสองอันที่น่าสงสัยอย่างมาก (บันทึกข้อความ Rummindei และนิกาลีสการ์), ได้ถูกเปิดเผยโดยผู้หลอกลวงที่รู้จักกันดี (Dr Alois Anton Führer)…

http://www.lumkap.org.uk/Lumbini On Trial.htm

 

หนึ่งในจารึกเหล่านี้ (จารึกSchism) ไม่ได้กล่าวถึงศาสนาพุทธ, แต่คำว่า “คณะ” ชาวพุทธส่วนมากนึกเอาว่าความหมายนี้หมายถึง คณะสงฆ์ เสาอโศกที่เจ็ด กล่าวถึงคณะสงฆ์เป็นหนึ่งในศาสนาหลากหลายที่ได้รับความสนใจ:

“แม้ธรรมมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ข้าฯ ก็ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการต่างๆ มากหลายประการ อันจะเป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์ ทั้งแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งหลาย และธรรมมหาอำมาตย์เหล่านั้น ได้รับมอบหมาย ให้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหมู่ชนผู้นับถือลัทธิศาสนาทั้งปวง แลเพื่อประโยชน์แก่คณะสงฆ์ ข้าฯ ก็ได้มีคำสั่งว่า ให้มีเจ้าหน้าที่ธรรมมหาอำมาตย์ ที่มีหน้าที่ (เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคณะสงฆ์) แม้สำหรับพวกพราหมณ์และอาชีวิกะทั้งหลาย ก็เช่นกัน... แม้สำหรับในหมู่ชนผู้นับถือลัทธิศาสนาต่างๆ ข้าฯ ก็ได้มีคำสั่งไว้ว่า ให้มีเจ้าหน้าที่ธรรมมหาอำมาตย์เหล่านั้น ซึ่งจักมีหน้าที่รับผิดชอบ (เพื่อผลประโยชน์ของลัทธิศาสนาเหล่านั้นด้วย) เจ้าหน้าที่มหาอำมาตย์ตำแหน่งต่างๆ ย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบรักษาหน้าที่อันเฉพาะของตนๆ เท่านั้น ส่วนพวกธรรมมหาอำมาตย์นี้ ข้าฯ มอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งกิจการเหล่านี้ด้วย และมีหน้าที่เกี่ยวกับลัทธิศาสนาทั้งหลายอื่นทั้งหมดด้วย”

http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/edicts_of_asoka_(dharmachakra_atop_the_lion_capital)_the_political_science_of_dhammocracy.pdf(หน้า ๑๘๑-๑๘๒)

http://www.katinkahesselink.net/tibet/asoka1b.html#Nigalisag

 

ดังนั้น, จากรึก ๒ อัน จาก ๓๓ ซึ่งอ้างอย่างชัดเจนถึงความเชื่อส่วนบุคคลในศานาพุทธของอโศกเท่านั้น (จารึกMaski และ Bhabra) มันไม่มีจนถึงในปีคริสต์ศักราช ๑๙๑๕ ที่จารึกMaski ได้ถูกค้นพบด้วยชื่อ “อโศก” นี่คือจารึกเดียวจาก ๓๓ อันที่มีชื่อของ “อโศก”

 

ภาพของชีวิตอโศก นั้นแตกต่างมากในแต่ละรูปลักษณ์ถ้าเราลงพิจารณาถึง มหาวันสา, อโศกาวทาน, หรือจารึก  ในจารึก, อโศก (?) กล่าวถึงสวรรค์ สามครั้ง, แต่ไม่เคยกล่าวถึง นิพพาน  เขาไม่ได้กล่าวถึง หลักอริยสัจสี่ ด้วย  กริยาท่าทางของเขาในจารึกเป็นสัมพันธภาพระหว่างศาสนาที่อยู่ร่วมกันมากกว่าการแยกนิกายที่ผู้ที่ไม่ได้เชื่ออย่างเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันได้  เรามีภาพสามแบบของชีวิตอโศกที่เห็นไม่ตรงกัน

 

อ้างอิง

Basham, A.L. In Eliade, M. (Ed.). (1987). The Encyclopedia of Religion. New York: MacMillan Publishing Company.

Cahill, M. (2005). One Heartbeat Away: Your Journey Into Eternity. Rockwall: BDM Publishing.

Frasch, T. (2004). Notes on Dipavamsa: An early publication by U Pe Maung Tin. In The Journal of Burma Studies. DeKalb: Southeast Asia Publications.

  1. Hinuber, Oskar. (1996). A Handbook of Pali Literature. Berlin: Walter de Gruyter.

Jones, J.G. (1979). Tales and Teachings of the Buddha: The Jataka Stories in relation to the Pali Canon. London: George Allen & Unwin.

King, W.L. (1989). A Thousand Lives Away: Buddhism in contemporary Burma. Berkeley: Asian Humanities Press.

Ling, Trevor. (1979). Buddhism, Imperialism and War. London: George Allen & Unwin.

Payutto, P.A. (1998). Toward Sustainable Science. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.

Rahula, W. (1999). What the Buddha Taught. Bangkok: Haw Trai Foundation.

Robinson, R.H., Johnson, W.L., Wawrytko, S.A., & DeGraff, G. (1997). The Buddhist Religion: A Historical Introduction. Belmont: Wadsworth Publishing Company.

Schaeffer, F. (1972). He Is There And He Is Not Silent. London: Hodder and Stoughton.

Strong, J.S. (1995). The Experience of Buddhism: Sources and Interpretations. Belmont: Wadsworth Publishing Company.

Strong, J.S. (1989). The Legend of King Asoka: A Study and Translation of the Asokavadana. Princeton: Princeton University Press.

Swearer, D.K. (1995).The Buddhist World of Southeast Asia. Albany: State University of New York Press.

Veidlinger, D.M. (2006). Spreading the Dhamma: Writing, Orality and Textual Transmission in Buddhist Northern Thailand. Bangkok: O.S. Printing House.

 

เว็บไซต์

Asoka’s Edicts…

http://www.katinkahesselink.net/tibet/asoka1b.html#Nigalisag

Shravasti Dhammika’s book…

http://www.buddhistische-gesellschaft-berlin.de/downloads/brokenbuddhanew.pdf

Concerning Dr Alois Anton Fuhrer…

http://www.lumkap.org.uk/Lumbini OnTrial.htm

Mahavamsa lion legend…

http://hettiarachchi.tripod.com/dipa.html

Sri Lanka's Civil War...

 

 

คนตายช่วยอะไรคุณไม่ได้

โดย สก็อต โนเบิล (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)

แปลโดย วีรวัจน์ เกียรติกุลพัฒนา (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)

๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๐๑๓

http://www.theage.com.au/articles/2007/06/15/1181414556706.html?page=fullpage